มาเล่น ALLBOT กัน

ALLBOT เป็นชุดประกอบหุ่นยนต์พร้อมชุดวงจรสำหรับเขียนโปรแกรมควบคุมได้ ตัวอย่างการประกอบหุ่นยนต์มีตั้งแต่ biped, quadruped, hexabot เนื่องจากชิ้นส่วนแบ่งเป็นชิ้นส่วนย่อยๆ ทำให้เราประกอบเป็นหุ่นยนต์อะไรก็ได้ อ่านข้อมูลจากเว็บแล้วก็น่าสนุกดี สำหรับท่านที่สนใจก็สามารถสั่งซื้อกันได้ โครงการนี้เปิดเป็นโอเพนซอร์สด้วยทั้ง hardware, software และชิ้นส่วนต่างๆ สำหรับท่านที่สนใจก็พิมพ์ชิ้นส่วนมาประกอบเล่นกันได้

มาดูชุดประกอบของ ALLBOT กันก่อน สำหรับท่านที่ซื้อ AllBot จะได้

  • ชุดชิ้นส่วนประกอบ พร้อมไขควง
  • มอเตอร์ servo
  • Arduino UNO
  • VRSSM Shield สำหรับเชื่อมต่อ servo
  • VRBS1 Shield เป็นชุด regulator สำหรับใส่ battery จ่ายไฟให้ Arduino UNO และ Servo

เนื่องจากผมไม่ได้สั่งซื้อชุดประกอบมาเล่น ก็เลยพิมพ์ชิ้นส่วนจากเครื่อง 3D Printer แทน โดยส่วนตัวผมแนะนำให้ซื้อชุดประกอบครับ เพราะซื้ออุปกรณ์มาประกอบเองราคาแพงกว่าเยอะเลย T_T

สำหรับวิธีการประกอบดูได้จาก Tutorial บนเว็บ การเขียนโค้ดALLBOT มี Library สำหรับ Aduino อยู่และมี Tutorial อธิบายการใช้งาน Library ไว้ได้ดีทีเดียว แนะนำให้อ่านกัน อ้อ มี plugin สำหรับ scracth ด้วย เหมาะสำหรับเด็กๆ ดี แปะวิดีโอแนะนำ  ALLBOT ไว้หน่อย ดูแล้วก็สนุกดีครับ

มาเล่น Arduino Robot ควบคุมด้วย Android App กัน

เนื่องจากเกิดอาการนึกสนุกทำ Arduino Robot ไปเมื่อปีที่แล้ว ปีนี้ได้มีโอกาสทำหุ่นยนต์แมง 4 ขาก็เลยได้ทำ App ใหม่อยู่ 2 ตัว คือ App Joystick และ App Joypad ที่ได้เขียน App Joystick ใหม่ก็เนื่องจากพยายามหา App Joystick ที่ตรงใจไม่ได้ อยากได้ฟังก์ชั่นการใช้งานเยอะๆ แต่ที่มีใน PlayStore ยังไม่ถูกใจมากนัก ก็เลยเขียน App มาเล่นเอง ซึ่ง App ทั้งสองตัวแตกต่างตามฟังก์ชั่นการใช้งาน ที่เขียนทั้ง 2 แบบ ก็เผื่อจะเอาไปใช้กับโครงการอื่นๆ ด้วย มาดู App Joystick กันก่อน

ที่อยากได้ App Joystick ตอนแรกว่าจะเอาไปคุมหุ่นยนต์ 4 ขา อยากได้การควบคุมหลายทิศทาง หลายฟังก์ชั่น ตั้งค่าปุ่มได้จะได้เอาไปใช้กับโครงการอื่นได้ ต่อกับ Video Streaming ได้ ฯลฯ คิดเยอะบวกกับความต้องการเยอะมากกกกก แต่เอาไปเล่นกับหุ่นยนต์ 4 ขา ไม่สนุกเลย เพราะฟังก์ชั่นหลายอย่างไม่ได้ใช้งาน ใช้อยู่ 4 ปุ่ม ตอนตั้งค่าปุ่มกดจนเมื่อยมือกว่าจะได้เล่น T_T ตอนเขียนก็อยากได้ Joystick แต่ไม่ได้นึกถึงตอนใช้งานเท่าไร ก็เลยเขียน App ใหม่เป็น Joypad แทน T_T
Continue reading

เด็กโข่งทำหุ่นยนต์ ตอนที่ 3

หลังจากหาวิธีเขียนควบคุม servo motor อยู่พักใหญ่เลยแอบไปดูข้อมูลของ servo motor controller ซึ่งวิธีการใช้งานง่ายมากๆ สามารถสั่งงานให้ servo ทำงานพร้อมกันได้ มีโปรแกรมบันทึกการเคลื่อนไหวเก็บเป็นคำสั่งไว้ในตัวบอร์ดได้เลย แถมยังใช้ Joy PS2 มาควบคุมได้อีกต่างหาก แหมรู้อย่างนี้ซื้อ servo motor controller มาตั้งแต่แรกก็ดีเพราะการใช้งานมันง่ายมากๆ ไม่ต้องเขียนโค้ด T_T

กลับมาอัพเดทสักหน่อย พยายามนั่งเรียน inverse kinematics แต่ก็ยังไม่เข้าหัวสักเท่าไร ก็เลยใช้การกำหนดค่าแบบตายตัวไปก่อน โดยแบ่งการควบคุมแบบ 4 ขา และทีละขา ทำให้ง่ายกว่าการเขียนควบคุม servo ทีละตัวทำให้ง่ายขึ้นมาอีกหน่อย
Continue reading

เด็กโข่งทำหุ่นยนต์ ตอนที่ 2

หลังจากพยายามพิมพ์ชิ้นส่วนและแก้ไขแบบไปหลายรอบก็ได้โครงร่างของหุ่นยนต์แมงมุม 4 ขามา 1 ตัว เนื่องจากมีการแก้ไขแบบนิดหน่อย เปลี่ยน servo holder เอาไปติดกับแขนจะได้ไม่ต้องหาน็อตตัวเล็กๆ มาขัน servo holder กันอีก เปลี่ยนจาก Arduino Pro มาเป็น Arduino UNO เพิ่มถาดรอง Arduino UNO อีกชิ้นหนึ่ง จากที่ได้ลองหาข้อมูลและได้รับคำแนะนำจากหลายๆ ท่าน ในเรื่องการควบคุม servo ผ่าน servo controller โดยไม่ต้องใช้ Arduino มาต่อ ก็พบว่าเป็นวิธีที่ดีมากๆ แต่เนื่องจากมี Arduino UNO เหลืออยู่ 3 ตัว ก็เลยเอามาใช้งานน่าจะดีกว่าและหา servo shield มาต่อกับ Arduino อีกที

ตัว servo shield ที่หามาได้เป็น Adafruit 16-channel PWM/Servo Shield มีหน้าตาประมาณนี้
Continue reading

เด็กโข่งทำหุ่นยนต์ ตอนที่ 1

เนื่องจากความอยากรู้และอยากทำหุ่นยนต์บ้าง ก็เลยหา 3D Model จาก Thingiverse โครงการ Spider Robot ดูน่าสนุกดี เพราะใช้อุปกรณ์น้อย ไม่ต้องใช้น็อต แหวน แบริ่ง คิดว่าแบบนี้ง่ายดี ก็เลยลองทำ จากที่ลองพิมพ์ชิ้นส่วน เสียไปหลายชิ้น เพราะรูที่เจาะไม่ตรง ก็เลยต้องค่อยๆ คว้านเพื่อให้ใส่ servo และ holder ได้

พอพิมพ์ออกมา แล้วลองประกอบดูก็พบว่าต้องใช้สกรูตัวเล็กขันตัว servo holder ติดกับส่วนต่างๆ ด้วย ก็เลยทำให้ต้องออกแบบใหม่ จะได้ไม่ต้องใช้สกรู แต่ต้องมาเหนื่อยแกะ support แทน
Continue reading

มาเล่น Arduino Robot ควบคุมด้วย Android App Bluetooth Joystick กัน

เมื่องาน OSSFestival 2014 ที่ผ่านมา มี workshop เกี่ยวกับ Arduino DIY ได้รับความสนใจมากจากหลายคนที่สนใจด้าน OpenSource Hardware ซึ่งโครงการอย่าง Arduino และ Raspberry Pi เป็นโครงการ OpenSource Hardware ที่ประสบความสำเร็จมาก เรียกได้ว่าใช้เครื่องมือทุกอย่างที่เป็น OpenSource ในการทำงานได้ ตั้งแต่การประกอบแบบ DIY,Arduino Bootloader สำหรับ Burn ลงในชิบ ATMEGA328, IDE ที่ใช้เขียนโปรแกรมและระบบปฏิบัติการที่ใช้งานได้ เรียกได้ว่าใช้งานเครื่องมือแบบ OpenSource ได้ในทุกกระบวนการเลยทีเดียว ดีจัง 🙂 ใน workshop ได้แนวคิดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นบอลลูนติด Arduino ควบคุมด้วย Remote Control แบบ Infra Red หรือการใช้งาน Arduino DIY กับ RFID เป็นต้น เรียกได้ว่าทำได้หลายอย่างมากๆ
ในตอนแรกคิดว่าจะลองทำบอลลูนควบคุมด้วย Arduino แต่ต้องถอดใจก่อนเพราะไม่มีลูกโป่งและก๊าซฮีเลียม แนวคิดนี้ก็เลยขอพักไว้ก่อน ลองทำอะไรง่ายๆ ก่อนน่าจะดีกว่า อย่างเช่น Robot เอ่อ…ต้องเรียกรถ 2 ล้อน่าจะถูกกว่าเพราะมี 2 ล้อสำหรับควบคุมทิศทางและล้ออิสระอีก 2 ล้อเอาไว้พยุงตัวรถเท่านั้นเอง อุปกรณ์ที่ต้องใช้มีดังนี้ครับ

  • Robot Chassis Kit (Chassis + Motor + Wheel)
  • Arduino UNO
  • Motor Drive Shield (L298P)
  • Bluetooth Module HC-05
  • Battery ขนาด AA 6 ก้อน
  • Battery Box ขนาด AA 6 ก้อน

Continue reading