วางแผนไว้ว่าในปีนี้จะทำเครื่อง 3D Printer ซึ่งก็ทำเครื่อง CoreXY เสร็จไปแล้วตัวนึง ช่วงนี้ก็เลยวางแผนจะรื้อเครื่องเก่าซึ่งเป็นเครื่อง Prusa i3 เอามาทำเป็นเครื่อง Delta เอ้อ… ปกติเค้าจะรื้อเครื่อง Prusa i3 เอามาทำ Core XY แต่เนื่องจากมีเครื่อง CoreXY แล้วก็เลยอยากทำเครื่อง Delta บ้าง หลังจากศึกษาเครื่อง Delta มาระยะหนึ่งก็พบว่าการออกแบบมันดูยุ่งเหมือนกัน
ยุ่งตั้งแต่ตอนออกแบบกันเลยล่ะ พยายามหาเครื่องมือมาช่วยในการคำนวณค่าต่างๆ ซึ่งถ้าทำเครื่องแบบไม่อิงจากแบบต่างๆ ที่มีขายอยู่แล้ว เช่น ปรับขนาดของฐานให้ใหญ่ขึ้น จะต้องคำนวณความยาวของแขนในแต่ละแกนใหม่ทั้งหมด อันนี้แค่ออกแบบนะ ยังไม่รวมการตั้งค่าที่จะตามมาให้ปวดหัว วิธีการแก้ปัญหาแบบง่ายที่สุดคือซื้อชุด Kit สำเสร็จรูปเอามาประกอบ แต่เดี๋ยวก่อน!!! มันต้อง Reprap สิ ก็เลยจัดการพิมพ์ชิ้นส่วนมารอเรียบร้อย
ปัญหาถัดมาคือการคำนวณ จากการศึกษาพบว่ามีเครื่องมือการคำนวณหลายตัวมาก ทั้งแบบผ่านเว็บอย่าง DeltaBot Calculator และผ่านการออกแบบโดยใช้ OpenSCAD ซึ่งสะดวกมาก แก้ไข parameter ต่างๆ เช่น ความกว้าง ความสูง เป็นต้น กด build โปรแกรมก็จะคำนวณมาให้เลย หากต้องการแก้ไข parameter ต่างๆ ก็สามารถแก้ไขได้เลยซึ่งง่ายมากๆ
สำหรับท่านที่สนใจ ลองดูโค้ดจาก Git Repository ของเครื่อง Kossel 2020 ได้ครับ อ่าน ประสบการณ์ทำเครื่อง 3D Printer แบบ Delta ต่อได้เลย
Search Results for: เด็กโข่ง
Found 24 search results for เด็กโข่ง (this is page 1 of 3).
เด็กโข่งทำ 3D Printer Core XY
เมื่อปลายปีที่แล้วตั้งใจว่าจะทำเครื่อง 3D Printer แบบ Deltaเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาก็เลยได้ตั้งใจทำแบบจริงจังสักที แต่เป็นเครื่องแบบ Core XY แทน มีคนที่ทำงานกับ 3D Printer บอกว่า Core XY มันเจ๋งมาก ก็เลยอยากลองทำดูบ้าง จากที่ได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ Core XY ก็พบว่ามีการออกแบบที่น่าสนใจมาก
เครื่อง Core XY ที่ปล่อยแบบให้ดาวน์โหลดเอาไปทำเล่นได้มีหลายตัว เช่น
- D-BOT Core-XY 3D Printer
- VULCAN 400
- X3D XS COREXY Printer
- SmartRapCore
- SmartrapCore ALU
- SmartrapCore XL300
- Fusebox Core XY
- FB2020 Core XY
ผมเลือกทำเครื่อง Fusebox Core XY เพราะดูเล็กกระทัดรัด เครื่อง Fusebox Core XY ใช้ Aluminium Profile ขนาด 15×15 สั่งตัดอลูมิเนียมผิดขนาดเอา 20×20 มาใช้ขนาดเครื่องก็เลยเพี้ยนไปหน่อยแต่ก็ประยุกต์ใช้ได้ ขั้นตอนการทำก็ง่ายมาก พิมพ์อุปกรณ์ต่างๆ กันก่อน
แล้วก็เริ่มประกอบกันได้
Continue reading
เด็กโข่งทำเครื่องบิน PEON 230 ตอนที่ 1
ช่วงนี้มีโครงการทำของเล่นบ่อย ตั้งแต่มี 3D Printer ก็เริ่มทำของเล่นออกมาเรื่อยๆ ได้ทำของเล่นใหม่ๆ ก็ทำให้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ด้วยเหมือนกัน ช่วงต้นปีอยากลองทำ Quadcopter ดูน่าสนุกดี แต่เท่าที่ศึกษาข้อมูลแล้วพบว่า Quadcopter ตัวมันใหญ่ไปหน่อยก็เลยลองดู Quadcopter ในแบบต่างๆ พบว่าเครื่องบินแบบ FPV นอกจากจะควบคุมเครื่องบินจาก remote control แล้วยังมีแว่นตาใส่ เหมือนเอาตัวเราบินไปพร้อมกับเครื่องบินด้วยก็เลยทำให้รู้สึกน่าสนุกดี
ก็เลยพิมพ์โครงเอาไว้ก่อน เอาไว้สั่งอุปกรณ์มาครบเมื่อไรค่อยทะยอยประกอบอีกที คิดว่าคงอีกหลายเดือน อาจต้องศึกษาเรื่อง Quadcopter เพิ่มเติม
Continue reading
เด็กโข่งทำของ
ผมมักจะมีโครงการพัฒนา App อยู่ทุกๆ ปีเพื่อจะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ และได้ทดลองแนวคิดหลายๆ อย่างว่ามันสามารถทำได้จริงหรือไม่ โดยใช้ชื่อตอนว่าเด็กโข่ง… ซึ่งก็มีอยู่หลายโครงการ สามารถติดตามได้ที่หน้านี้
- เด็กโข่งรื้อ 3D Printer ตัวเก่าทำเครื่องใหม่
- เด็กโข่งทำ 3D Printer Core XY
- เด็กโข่งทำเครื่องบิน PEON 230 ตอนที่ 1
- เด็กโข่งทำหุ่นยนต์ ตอนที่ 7 ตอนจบ
- เด็กโข่งทำหุ่นยนต์ ตอนที่ 6
- เด็กโข่งทำหุ่นยนต์ ตอนที่ 5
- เด็กโข่งทำหุ่นยนต์ ตอนที่ 4
- เด็กโข่งทำ Silent Violin
- เด็กโข่งทำหุ่นยนต์ ตอนที่ 3
- เด็กโข่งทำหุ่นยนต์ ตอนที่ 2
- เด็กโข่งทำหุ่นยนต์ ตอนที่ 1
- เด็กโข่งทำป้าย Digital Signage ตอนที่ 4 ตอนจบ
- เด็กโข่งทำป้าย Digital Signage ตอนที่ 3
- เด็กโข่งทำป้าย Digital Signage ตอนที่ 2
- เด็กโข่งทำป้าย Digital Signage ตอนที่ 1
- ตามติดชีวิตเด็กโข่งสร้างเกมส์ ตอนที่ 7 ตอนจบ
- ตามติดชีวิตเด็กโข่งสร้างเกมส์ ตอนที่ 6
- ตามติดชีวิตเด็กโข่งสร้างเกมส์ ตอนที่ 5
- ตามติดชีวิตเด็กโข่งสร้างเกมส์ ตอนที่ 4
- ตามติดชีวิตเด็กโข่งสร้างเกมส์ ตอนที่ 3
- ตามติดชีวิตเด็กโข่งสร้างเกมส์ ตอนที่ 2
- ตามติดชีวิตเด็กโข่งสร้างเกมส์ ตอนที่ 1
- เกมส์บวกเลข
เด็กโข่งทำหุ่นยนต์ ตอนที่ 7 ตอนจบ
ครั้งที่แล้วทำ Android App Bluetooth Joypad เอามาเล่นคู่กับหุ่นยนต์กันไปแล้ว ครั้งนี้มาอัพเดทมหากาพย์เกี่ยวกับ Lipo Battery และ PCB ในส่วนควบคุม เรื่องแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ load ทั้งหมดที่ใช้ในตัวหุ่นยนต์จะต้องคำนวณออกมาก่อน ก่อนที่จะหา Lipo Battery มาใช้งาน มาลองดูการคำนวณแบบคร่าวๆ กันก่อน
สำหรับหุ่นยนต์ตัวนี้มี 4 ขา มี servo ขาละ 3 ตัว รวมทั้งหมดใช้ servo 12 ตัว ตัว servo กินไฟ 4.7V ~ 220mAh รวม 220×12 = 2,640mAh ไฟจะต้องจ่ายแยกให้ Arduino Nano เข้่าช่อง Vin กินไฟประมาณ 7-12V ดังนั้นเราจะต้องใช้ Lipo Battery ประมาณ 7V-12V ~ 2,700mAh ขึ้นไปจะได้เล่นได้นานๆ อย่าลืมชั่งน้ำหนัก Lipo Battery ด้วยเพราะเดี๋ยว servo จะไม่มีแรงยก และอย่าลืม regulator แปลงไฟจาก Lipo มาให้ servo ด้วยไฟจะได้ไม่เกิน เดี๋ยว servo พัง ผมก็พยายามทำ PCB ได้หน้าตาประมาณนี้
Continue reading
เด็กโข่งทำหุ่นยนต์ ตอนที่ 6
เขียน App Bluetooth Joystick ใหม่ เอาไว้เล่นกับหุ่นยนต์ App ใหม่เปลี่ยนมาใช้ปุ่มแบบ Joypad ซึ่งจะใช้งานง่ายกว่าและเหมาะสมกว่ากับหุ่นยนต์แบบนี้ และได้แก้ปัญหาเรื่อง flood คำสั่งตอนส่งข้อมูลผ่าน Bluetooth ด้วย จาก App Joystick อันเก่าสามารถตั้งค่าปุ่มได้ แต่พอตั้งค่าสำหรับใช้งานจริง ค่าของปุ่มมันเยอะมาก เยอะจนรู้สึกว่าตั้งค่า Joystick นี่มันนรกชัดๆ ใน App ใหม่ก็เลยใช้วิธีการตั้งค่าอัตโนมัติผ่าน QR Code ซึ่งค่าของปุ่มจะอยู่ใน QR Code กด scan QR Code แล้วก็เล่นได้เลย
สำหรับหน้าตา App ก็เห่ยๆ แบบนี้ครับ
Continue reading
เด็กโข่งทำหุ่นยนต์ ตอนที่ 5
ใช้เวลาช่วงเสาร์-อาทิตย์ให้เกิดประโยชน์สักหน่อย เนื่องจากหุ่นยนต์เหลือแค่เรื่อง regulator กับแบตเตอร์รี่อีกนิดหน่อยคิดว่าน่าจะเล่นได้โดยไม่ต้องต่อสาย USB ยาวๆ ก็เลยมาปรับปรุงเรื่อง Bluetooth Remote App ใหม่ เขียนให้ยืดหยุ่นมากขึ้นจะได้ใช้ได้กับหลายๆ โครงการ ตอนแรกก็พยายามหา App Joystick ใน Google Playstore ก็พบว่าส่วนใหญ่จะขาย แต่ไม่ได้รองรับความต้องการของผมมากนัก ก็เลยจัดการเขียนใหม่
สำหรับ App ใหม่มี feature ที่ต้องการดังนี้
- มี Joystick 2 อัน ซ้าย ขวา
- ตั้งค่าปุ่มของ Joystick แบบปกติได้ 16 คำสั่ง
- เข้าโหมด Hold คือ กดค้างข้างหนึ่ง แล้วสั่งงานอีกข้างหนึ่ง จะใช้งานได้อีก 16 คำสั่ง
- ตั้งค่า Constrain ได้ เช่น ด้านซ้ายเลื่อนขึ้นลง ด้านขวาเลื่อนซ้ายขวา เป็นต้น
- รองรับการ video streaming ดึงภาพจากกล้องที่ติดอยู่กับหุ่นยนต์ โดย Joystick จะ Overlay อยู่บนหน้าจอวิดีโอ
ได้ App หน้าตาประมาณนี้
Continue reading
เด็กโข่งทำหุ่นยนต์ ตอนที่ 4
ไม่ได้มาอัพเดทเจ้าหุ่นยนต์ 4 ขามาสักระยะเพราะไปสนใจทำของเล่นชิ้นอื่นอยู่ ช่วงเวลาที่ผ่านได้มีโอกาสไปเรียน IK มานิดหน่อย และพยายามแก้ปัญหาเรื่อง Hardware ไปในตัวทั้งเรื่อง Battery และการเขียนโค้ดควบคุมผ่าน Android จริงๆ ก็เอาของเก่ามาแก้ไขนิดหน่อย
มีการเปลี่ยนแปลงเรื่อง Hardware จาก Arduino UNO กลับมาใช้ Arduino Nano แทนเพราะเล็กและเบากว่า ประเด็นเรื่อง Battery ที่จะมาจ่ายให้ servo ยังมีปัญหาอยู่นิดหน่อย จากที่ได้ลองทำ regulator เอง ทำ Arduino Nano ไหม้ไป 1 ตัว สงสัยไฟแรงไปหน่อย ก็เลยกลับมาใช้ไฟจากคอมพิวเตอร์ไปก่อน
Continue reading
เด็กโข่งทำ Silent Violin
สืบเนื่องมาจากความผิดพลาดในการสั่งซื้อ Pickup มาทำไวโอลินไฟฟ้าและคิดว่าคงไม่ได้ทำแล้วเพราะหาอุปกรณ์ยาก ไปซื้อไวโอลินไฟฟ้ามาเล่นน่าจะง่ายกว่า แต่ลืมไปว่าสั่ง Pickup ไปตอนไหน พอได้รับพัสดุมาก็ตกใจเพราะในกล่องเป็น Pickup แพคใส่ซองกันกระแทกพร้อมสายและหูฟังมาเรียบร้อย T_T
ก็เลยกลายเป็นภาระเพราะไม่รู้จะเอา Pickup แบบนี้ไปทำอะไร ก็เลยกลับมาทำไวโอลินไฟฟ้าเหมือนเดิม ผมลองไล่ค้นใน Thingiverse พบว่ามีไวโอลินไฟฟ้าหลายแบบมาก แต่ส่วนใหญ่เครื่อง build size ขนาด 20×20 พิมพ์ไม่ได้ เพราะเขาเน้นพิมพ์ทั้งตัว ถ้าพิมพ์แบบเป็นชิ้นก็พิมพ์แล้วหาอะซีโตนมาติด ผมหาแบบที่พิมพ์ง่ายคือ EViolin ผมเลือก ElViolin v2 เริ่มจากพิมพ์ส่วนที่ติดลูกบิดมาก่อน
Continue reading
เด็กโข่งทำหุ่นยนต์ ตอนที่ 3
หลังจากหาวิธีเขียนควบคุม servo motor อยู่พักใหญ่เลยแอบไปดูข้อมูลของ servo motor controller ซึ่งวิธีการใช้งานง่ายมากๆ สามารถสั่งงานให้ servo ทำงานพร้อมกันได้ มีโปรแกรมบันทึกการเคลื่อนไหวเก็บเป็นคำสั่งไว้ในตัวบอร์ดได้เลย แถมยังใช้ Joy PS2 มาควบคุมได้อีกต่างหาก แหมรู้อย่างนี้ซื้อ servo motor controller มาตั้งแต่แรกก็ดีเพราะการใช้งานมันง่ายมากๆ ไม่ต้องเขียนโค้ด T_T
กลับมาอัพเดทสักหน่อย พยายามนั่งเรียน inverse kinematics แต่ก็ยังไม่เข้าหัวสักเท่าไร ก็เลยใช้การกำหนดค่าแบบตายตัวไปก่อน โดยแบ่งการควบคุมแบบ 4 ขา และทีละขา ทำให้ง่ายกว่าการเขียนควบคุม servo ทีละตัวทำให้ง่ายขึ้นมาอีกหน่อย
Continue reading