ไม่คิดว่าจะเขียนเรื่องนี้เพราะเรื่องโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์และวงจรเชิงบวก สมบูรณ์ หรือ Completeness Positive Cycle for Open Source Software นี้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก ออกจะขวางโลกธุรกิจ ขวางโลกในมุมมองของคนในธุรกิจซอฟต์แวร์พอสมควร เพราะธุรกิจซอฟต์แวร์ที่เอาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไปใช้หรือนำไปจำหน่ายมักเน้น ไปในแนวทางธุรกิจในแบบที่เห็นแก่ตัว บางคนก้อเรียกให้สวยหรูว่ามันเป็น Business Model อย่างหนึ่ง ซึ่งผมเองไม่ค่อยเห็นด้วยสักเท่าไร หากคุณยังนึกภาพไม่ออกผมจะยกตัวอย่างง่ายๆ ให้ทำความเข้าใจกัน
สมมุติ ว่ามีชุมชนหนึ่งหรือนักพัฒนากลุ่มหนึ่งพัฒนาซอฟต์แวร์แล้วเปิดเป็นโอเพน ซอร์ส (ใช้ License แบบโอเพนซอร์ส) แต่มีกลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับชุมชนนั้น หยิบเอาซอฟต์แวร์นั้นไปเปลี่ยนชื่อและจำหน่าย โดยที่ชุมชนและกลุ่มนักพัฒนาก้อยังพัฒนาอยู่เรื่อยๆ โดยไม่รู้เรื่องอะไรเลย และกลุ่มคนกลุ่มนั้นก้อไม่คิดที่จะซัพพอร์ทชุมชนและกลุ่มนักพัฒนาเลยแม้แต่ น้อย หากซอฟต์แวร์มีปัญหาก้อจะโยนกลองให้ชุมชนและกลุ่มนักพัฒนาแก้ไขกันต่อไป สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริงและน่าละอายมากที่คนไทยเราก้อทำธุรกิจหากินกับ ชุมชนและกลุ่มนักพัฒนาเช่นนี้เหมือนกับตัวอย่าง
น่าเสียดายที่องค์กร ที่ทำหน้าที่ผลักดันเรื่องโอเพนซอร์สในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็น องค์กรด้านการศึกษา และ องค์กรด้านภาครัฐ ไม่ได้ใส่ใจในเรื่องของความสำคัญและคุณค่าของซอฟต์แวร์มากนัก ทำให้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในความคิดของบ้านเราเป็นซอฟต์แวร์ทางเลือกหรือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้บ้างไม่ได้บ้าง ซึ่งความคิดแบบนี้ส่งผลเสียแต่ชุมชนและนักพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สโดยตรง เอาล่ะโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์และวงจรเชิงบวกสมบูรณ์เป็นอย่างไร ผมขออธิบายสั้นๆ และไม่ขอลงในรายละเอียดมากนักนะครับ เรามาเริ่มจากจุดเริ่มต้นกันอีกครั้งหนึ่งที่มีชุมชนหนึ่งหรือนักพัฒนากลุ่ม หนึ่งพัฒนาซอฟต์แวร์แล้วเปิดเป็นโอเพนซอร์ส โดยชุมชนและนักพัฒนาซัพพอร์สซึ่งกันและกันโดยการร่วมกันพัฒนา หาบัก แก้บัก สร้างองค์ความรู้ ฯลฯ นวตกรรมใหม่ๆ จะเกิดขึ้นจากชุมชน เนื่องจากความต้องการของแต่ละคนไม่เหมือนกันทำให้ซอฟต์แวร์นั้นต้องมีการ พัฒนาอยู่เสมอ นวตกรรมใหม่นี้ถือว่ามีเจ้าของร่วมกันคือชุมชนและนักพัฒนา หากเรามองในรูปแบบวงกลมเราจะได้วงกลมที่ซ้อนทับกันโอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์และวงจรเชิงบวกสมบูรณ์ในระดับชุมชนและนักพัฒนาจะเกิดขึ้นอย่าง สมบูรณ์ ผมขอยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดซึ่งเกิดเมื่อไม่นานมานี้ Ubuntu Intrepid Ibex ในรุ่น Beta ไม่สามารถพิมพ์ภาษาไทยโดยลำดับของการพิมพ์อักขระจะผิดเพี้ยนไป บักนี้ถูกแจ้งไปยังกลุ่มนักพัฒนาซึ่งนักพัฒนาก้อได้รับไปแก้ไข ซึ่งคาดว่าจะแก้ไม่ทันในรุ่น release อย่างแน่นอน แต่ชุมชนผู้ใช้ต่างพยายามอธิบายในกรณีต่างๆ ว่าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้อย่างไร ก้อทำให้นักพัฒนาสามารถปะติดปะต่อหาจุดแก้ไขจนเจอและแก้ไขได้ทันท่วงที นี่เป็นตัวอย่างที่สื่อถึงวงจรเชิงบวกสมบูรณ์ในระดับชุมชนและนักพัฒนาเห็น ได้ชัดเจน ในปัจจุบันโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ไม่ได้มองในระดับระดับชุมชนและนักพัฒนา เท่านั้น ยังมีกลุ่มธุรกิจที่ต้องการเข้ามาหยิบนวตกรรมใหม่ที่เกิดจากชุมชนโอเพนซอร์ส โดยใช้หลากหลายวิธีการซึ่งวิธีการยอดนิยมก้อคงเป็นการเอาโอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์มาใช้ ประยุกต์ แก้ไข ปรับแต่ง เปลี่ยนเป็นบริการและโซลูชั่น ต่างๆ โดยที่ชุมชนและนักพัฒนาไม่ได้มีส่วนในซอฟต์แวร์นั้นเลย นวตกรรม (หรืออาจไม่มีนวตกรรมเลยก้อได้) ที่กลุ่มธุรกิจเอาไปแสวงหาผลประโยชน์ไม่ได้ถูกนำมาป้อนกลับให้ชุมชนและนัก พัฒนาแข็งแรงมากขึ้นแต่กลับอ่อนแอลง เพราะการทำแบบนี้เป็นการฆ่าชุมชนและนักพัฒนาทางอ้อม
ความสมดุลและ วงจรป้อนกลับเชิงบวกแบบสมบูรณ์จะเกิดขึ้นได้เมื่อกลุ่มธุรกิจ ป้อนกลับนวตกรรม ความช่วยเหลือ เพื่อให้ชุมชนและนักพัฒนาให้อยู่ได้ โดยพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดความสมดุล เขียนมายาวมากแล้วหากท่านใดอยากทราบข้อมูล เพิ่มเติมก้อฝากความคิดเห็นข้างล่างไว้ได้ครับ
- Related Content by Tag
- oss
- positive cycle