ช่วง 2-3 เดือนมีนี้มีข่าวดีในเรื่องการการลดราคาซอฟต์แวร์หลายตัวทั้งไทยและเทศ ที่บอกว่าทั้งไทยและเทศหลายคนอาจคิดว่า “คิดหรือว่าเขาจะลดจริง” จากที่สืบราคามาลดจริงๆ ครับที่เป็นเพียงแคมเปนจ์เริ่มแรกเพื่อกระตุ้นการซื้อซอฟต์แวร์ที่ถูกกฏหมาย และการหันมาใช้ซอฟต์แวร์ของคนไทยบ้าง มหกรรมลดราคาซอฟต์แวร์ตั้งแต่ 30-50% โดยหวังว่าจะช่วยลดการละเมิดลิขสิทธิ์ลดลง 20% และจะสามารถลดการละเมิดได้ถึง 50% ในอีก 2 ปีข้างหน้า นั่นมายความว่าตารางลำดับประเทศที่ละเมิดลิขสิทธิ์จากอันดับต้นๆ จะต่ำลงไปเรื่อยๆ ถือเป็นเรื่องที่ดีครับ การเจรจากับผู้ผลิตซอฟต์แวร์นำโดย SIPA ให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพิ่มจำนวนซอฟต์แวร์และเพิ่มสิทธิพิเศษให้มากขึ้นจะส่ง ผลดีกับผู้ใช้ที่จะมีโอกาส “เอื้อมถึง” ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฏหมายเสียที สำหรับแคมเปนจ์นี้มีถึงวันที่ 30 มิถุนายนนี้เท่านั้นครับ รายละเอียดต่างๆ ติดตามได้ที่เว็บไซต์ SIPA ได้
แต่จั่วหัวในเรื่องของซอฟต์แวร์ไทย ราคา 90 บาท ทำได้จริงหรือ? ได้ทรายข่าวจาก บริษัทซีเนียร์ คอม จำกัด ได้สร้างแคมเปนจ์ใหม่โดยเป้าหมายเดียวกันคือธุรกิจ SMEs ซึ่ง สนช. และบริษัทซีเนียร์ คอม จำกัด นำรูปแบบลิขสิทธิ์แบบแชร์แวร์มาประยุกต์ใช้ช่วยให้ผู้ประกอบการใช้งาน ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องได้เช่นกัน โดยซอฟต์แวร์ที่นำทัพมาจำหน่ายเพียง 90 บาทนี้ ได้แก่ ระบบบัญชีทั่วไป และบริหารงานบุคคลและเงินเดือน พร้อมคู่มือใช้งาน และในปลายปีนี้จะมีโปรแกรมการขายและลูกค้าสัมพันธ์ และโปรแกรมงานบริการชุดใหม่ ออกตามมา ในหลายภาคส่วนพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์โดนการแก้ปัญหาที่ ต้นตอในเรื่องของราคา ทำให้มีความคาดหวังว่าจะแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ซึ่งก็ขอให้เป็นเช่น นั้น
เรื่องปัญหาลิขสิทธิ์อยู่กับเรามาานมากแล้วมากกว่า 30 ปี เพียงสิ่งเหล่านี้ค่อยๆ สะสมและกลายเป็นพฤติกรรมที่แก้ไขไม่ได้ ก็เท่านั้นเอง การลดละเลิกละเมิดลิขสิทธิ์คงต้องขึ้นอยู่กับ “จิตสำนึก” และความรู้สึกทางด้าน “จริยธรรม” เท่านั้น การที่ภาครัฐเข้ามาช่วยต่อรอง สร้างแคมเปนจ์ลดราคาซอฟต์แวร์ก็ได้เพียงบางตัวเท่านั้น ไม่ไช่เป็นการลดซอฟต์แวร์ทุกตัว หลายคนให้ความคิดเห็นในกรณีนี้ แต่ก็ได้เพียงวิพากวิจารณ์เท่านั้น “แก้ไขอะไรไม่ได้” การหันมาใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สจะช่วยลดการละเมิดลิขสิทธิ์ ในกรณี้นี้ผมเองก็ไม่เห็นด้วยสักเท่าไร เพราะ “จิตสำนึกไม่มี” ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรมากนัก ทำไม?
กรณีศึกษาที่ได้พบเห็นกับ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สตัวหนึ่ง ทุกวันนี้เมื่อมีเวอร์ชั่นใหม่ออกเขาจะขายในราคา 7USD ก็ราวๆ 250 บาท จนกระทั่งเวอร์ชั่นถัดไปถึงจะให้ดาวน์โหลดได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย กรณีที่สมัครสมาชิกรายปีจะได้สิทธิพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย ปรากฏว่าคนไทยนี่แหละสั่งซื้อซอฟต์แวร์นี้ทุกเวอร์ชั่นแล้ว ปล่อยให้ดาวน์โหลดกันในชุมชนผ่านทางเว็บบอร์ดและบิทโทเรน แล้วอย่างนี้ราคาจะเป็นกุญแจหลักของการละเมิดอยู่หรือไม่? หรือเพราะเพียง “อยากได้ของฟรี” เท่านั้นที่ทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ มีเพื่อนผมหลายคนที่ทำงานกับ Microsoft และ IBM มองว่าการละเมิดลิขสิทธิ์เกิดได้หลายแบบ ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ส่งเสริมการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ได้แก้ไขอะไร การปลูกจิตสำนึกในการเคารพสิทธิ ของบ้านเราน้อยมาก ต่างคนต่างก็โทษกันไปมา แล้วก็แก้ไขอะไรกันไม่ได้
ผมอยากยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดซึ่งทุกคน ที่ใช้คอมพิวเตอร์ยอมให้เกิดการละเมิด คือ การซื้อเครื่องประกอบ หรือ เครื่องที่ไม่มีซอฟต์แวร์ที่มาจากโรงงาน (OEM) แล้วปล่อยให้ร้านค้าติดตั้งซอฟต์แวร์ให้โดยที่คุณ “ต้องการ” ซอฟต์แวร์เหล่านั้น หรือ ไม่ทราบว่าซอฟต์แวร์เหล่านั้นผิดกฏหมายและละเมิดลิขสิทธิ์ อีกกรณีหนึ่งคือการซื้อซอฟต์แวร์ตามร้านค้าที่ไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่าย อย่างนี้ถือว่ามีโอกาสเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์สูงมาก หลายคนรู้แต่เมินเฉย แล้วอ้างว่า “ราคาแพง” หรือกว่าจะได้ซอฟต์แวร์ที่ตัวเองต้องการใช้งานก็หมดเงินมากกว่าซื้อเครื่อง คอมพิวเตอร์เสียอีก เรื่องแบบนี้ก็ไม่ทราบจะแก้ปัญหาอย่างไรหาก แคมเปนจ์ลดราคาซอฟต์แวร์มีหลายครั้งและทำให้การเข้าถึงซอฟต์แวร์ถูกกฏหมาย ได้ง่ายขึ้น ก็คิดว่าเป็นเรื่องที่ดี
ในแง่มุมของโอเพนซอร์สเอง ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่ใช่ซอฟต์แวร์ทางเลือก แต่เป็นซอฟตแวร์ธรรมดาๆ นี่แหละที่ชุมชนและนักพัฒนาอนุญาติให้เอาไปใช้งานได้อย่างเสรี แก้ไข ปรับปรุง และแจกจ่ายได้ อย่างอิสระ ไม่ใช่ซอฟต์แวร์ทางเลือกหรือเผื่อเลือกแต่อย่างใด การที่จะบอกว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นซอฟต์แวร์ “ทางเลือก” คงเป็นเพราะไม่มี “สิทธิ์เอื้อม” ซอฟต์แวร์ตัวอื่น แลัวมาเลือกใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสียมากกว่า แล้วบอกว่า “ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมันเป็นแค่ซอฟต์แวร์ทางเลือก” คงไม่มี “ซอฟต์แวร์ทางเลือก” เพื่อให้แทนกันได้ทุกตัวหรอกครับ อันนี้เป็นเรื่องที่น่าขบขันของหลายๆ คนที่อยู่ในชุมชนโอเพนซอร์ส เอาละ หากมองว่า ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นซอฟต์แวร์ตัวนึงละ คนจะใช้ซอฟต์แวร์อะไรก็เป็นสิทธิ์ของคุณเอง จะเลือกใช้ Microsft Windows, Jet Audio หรือจะเลือกใช้ Linux, Amarok ก็เป็นเรื่องของคุณเอง เพียงแต่ให้คุณทำตัวให้ถูกกฏหมาย ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสัญญาอนุญาติของซอฟต์แวร์นั้นๆ ก็พอ เขียนมายืดยาวทั้งหมดก็เป็นเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม และ ทัศนคติ เสียมากกว่า การลดการละเมิดลิขสิทธิ์ทำได้ด้วยตัวคุณเอง ไม่ใช่ใครอื่นไกล
- Related Content by Tag
- oss