หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงเขียนเรื่องนี้ทั้งๆ ที่เว็บไซต์นี้เกี่ยวกับโอเพนซอร์สอยากให้ท่านได้ลองอ่านแล้วพิจารณาสักนิด ว่าจริงหรือไม่ ซอฟต์แวร์(โอเพนซอร์ส)มีราคา จากอาทิตย์ที่ผ่านมาได้พูดคุยกับผู้ประกอบการทั้งทางด้าน ISV และผู้ประกอบการด้าน Training ผมหยิบเอาปัญหาไปอภิปายเพื่อหาแนวทางแก้ไขซึ่งหลายคนที่ผมพูดคุยด้วยต่าง เห็นตรงกันว่า ซอฟต์แวร์ที่เป็นโอเพนซอร์สและไม่เป็นโอเพนซอร์สที่อยู่ในกระบวนการธุรกิจ นั้นมีราคา ซึ่งราคาที่ว่านี้ไม่ได้อยู่ที่ 0 บาท ธุรกิจซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่ได้มีรายได้จากการบริจาค (Donate) หากรอคนบริจาคซึ่งมีอยู่เพียงน้อยนิดก็คงไม่ต้องกินข้าวกันพอดี ถ้าโปรแกรมเมอร์กินหญ้าได้ก็คงปลูกหญ้ากินไปแล้วล่ะครับ หากเคยอ่านบทความเก่าๆ ที่เคยเขียนเกี่ยวกับ Positive Cycle ท่านคงทราบแล้วว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นมือถือ เซิร์ฟเวอร์ หรือแม้กระทั่ง Router อันเล็กๆ ก็ประกอบไปด้วยซอฟต์แวรโอเพนซอร์ส ซึ่งท่านก็ต้องซื้อหามาใช้งาน นั่นทำให้ท่านต้องจ่ายเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา เอาล่ะหลายคนอาจมองเรื่องราคาในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการแบ่งสัดส่วนราคา ตามราบละเอียดที่ควรจะมี เช่น ค่าพัฒนา ค่าออกแบบ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งการกำหนดราคาแบบนี้ใช้ไม่ได้กับซอฟต์แวร์ที่เป็นกล่องๆ ใช้ได้เพียงการกำหนดราคาโครงการซอฟต์แวร์ในรูปแบบ tailer made เท่านั้น ซึ่งแน่นอนหากใช้ โอเพนซอร์สระยะเวลาในการพัฒนาและราคาต้นทุนจะต่ำ แต่ก็ยังคงมีราคาแต่ราคาที่ว่านี้จะตกไปอยู่ในส่วนของค่าบริการ ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากส่งมอบผลิตภัณฑ์นั้นๆ
หลายท่านอาจเห็นแย้งว่า ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สต้องฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย นั่นคงไม่ใช่หากซอฟต์แวร์เปล่านั้นเกิดขึ้นเองได้ ไม่ต้องมีคน contribute หรือไม่มีใครพัฒนาหรือเป็นคนต้นคิด อย่างนั้นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สคงไม่มีค่าใช้จ่าย หากแต่ซอฟต์แวร์เกิดขึ้นเองไม่ได้ ดังนั้นโมเดลธุรกิจเริ่มแรกเพื่อเป็นการจุนเจือนักพัฒนาและ contributor คือการบริจาค (Donate) แล้วก็พัฒนาซอฟต์แวร์ไปเรื่อยๆ ตามโอกาสจะเอื้ออำนวย เอาล่ะในแต่เชิงธุรกิจทำเช่นนั้นไม่ได้ รายได้ที่ได้จากการบริจาคต้องมากพอที่จะเลี้ยงพนักงานในบริษัทนั้นๆ ดังนั้นการพัฒนาต่อยอดซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ในรูปแบบธุรกิจจึงต้องมีราคา ซึ่งราคาไม่ใช่ 0 บาทดังเหตุผลข้างต้น เอาล่ะการทำเช่นนี้หากจะเรียกว่าหยิบฉวยโอกาสและข้อดีต่างๆ ของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมาปรับใช้ในธุรกิจซอฟต์แวร์ แต่มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ ISV จะต้องพึงระรึกเสมอว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณพัฒนาต่อยอดหรือหยิบเอามาทำตลาดนั้นมา จากกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นผู้เริ่มต้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การ contribute งานกลับเข้าไปยังต้นน้ำยังเป็นเรื่องที่สำคัญ นั่นก็เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับซอฟต์แวร์ที่พัฒนาต่อยอดขึ้นมาแล้วหากจะจำหน่ายก็ควรพิจารณาในเรื่อง ของราคาต่างๆ ให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
การกำหนดราคาซอฟต์แวร์ถือว่า เป็นปัญหาโลกแตกในประเทศไทย ซึ่งภาครัฐเองพยายามกำหนดราคากลางของซอฟต์แวร์รวมไปถึงคุณสมบัติเบื้องต้น ที่พอเหมาะพอควรกับซอฟต์แวร์นั้นๆ ซึ่งราคาบางอย่างเหมาะสมกับซอฟต์แวร์แพคเกจ แต่ไม่เหมาะสมกับซอฟต์แวร์แบบ tailer made ซึ่งปัญหาเหล่านี้คงต้องหาทางแก้ไขกันต่อไป สำหรับผู้ใช้อย่างเราๆ ท่านๆ ก็คงอดคิดไม่ได้ว่าทำไม ราคาซอฟต์แวร์มันถึงได้แพงอย่างนั้น ให้ฟรีได้มั๊ย ฯลฯ การพิจารณาความคุ้มค่าในเรื่องการลงทุนจัดซื้อซอฟต์แวร์ต่างๆ อย่างหนักซึ่งวิธีการคิดง่ายๆอย่าง TCO ก็เป็นวิธีคิดที่ดีเช่นกัน เอาล่ะผมคงไม่ได้เชียร์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่อยากให้ผู้ใช้หรือลูกค้าเป็นผู้เลือกน่าจะเหมาะสมกว่า ประเด็นในเรื่องราคาคงไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับบ้านเรา เพราะลูกค้าเองก็ต้องการซอฟต์แวร์ที่มีคุณสมบัติที่ทำงานได้และราคาที่รับ ได้ คงไม่ใช่ 0 บาท หรือราคาที่อื้มไม่ถึง การเปิดรับในเรื่องการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่ว่าจาก ISV หรือจากซอฟต์แวร์ต้นน้ำก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้อีกเช่นกัน
- Related Content by Tag
- oss