in Blog

ถ้าไม่มีคนริเริ่มอย่างโอเพนซอร์ส อย่างอื่นก็ไม่เกิด

ผมได้มีโอกาสไปร่วมงาน Grand Openning Science Park ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีที่ The Mall โคราช ซึ่งงานนี้เป็นงานเปิดตัว Science Park และหน่วยงานอื่นๆ ใน Science Park ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานพอสมควร แต่ที่น่าตกใจคือไม่ค่อยมีการเปิดตัวของกลุ่มผู้ประกอบการซอฟต์แวร์มากนัก กลับมีเพียงแต่งานด้านเกษตรกรรมและงานด้านนวตกรรมยานยนต์ซึ่งเล่นทำให้ผม กร่อยเลย งานวันแรก ฯพณฯ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปเปิดงาน เหมือนท่านอยากจะดูว่า Science Park ที่นี่มีอะไรบ้าง บังเอิญได้สนทนากับท่านสัก 2-3 ประโยค ท่านบอกว่า ถ้าไม่มีคนริเริ่มอย่างโอเพนซอร์สอย่างอื่นก็ไม่เกิด โอเพนซอร์สเป็นฐานการพัฒนาอีกหลายอย่าง ซึ่งผมแปลกใจมากที่ท่านพูดกับผมแบบนี้แทงใจมากครับ ที่ผ่านมาผมพยายามเขียนบอกเล่าในเว็บไซต์นี้และพยายยามกระตุ้นเตือนเสมอว่า เราสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้กับซอฟต์แวร์ได้ ทำไมเราต้องเป็นผู้ตามอยู่เสมอ ทั้งด้าน open source software หรือแม้กระทั่ง propietary software ก็ตาม
สิ่ง ที่ผมจะบอกก็คือในประเทศไทยมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในประเทศน้อยลงมาก ที่น้อยลงก้อเพราะความสนใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์ในรูปแบบโอเพนซอร์สนั้นไม่น่า เย้ายวนใจอีกต่อไป อีกอย่างการพัฒนาซอฟต์แวร์ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์แต่ทำรายได้จากการบริการนั้น หมายความถึงต้องทำงานหนักถึง 2 เท่า ซึ่งไม่ยากและไม่ง่ายเลยที่จะมีคนมาทำแบบนี้ ด้วยสาเหตุนี้เองทำให้เกิดการหยิบยืมเอาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่มีอยู่แล้วมา แต่งหน้าปั๊มตรา ออกจำหน่ายกันเกลื่อนกลาด และสร้างวัฒนธรรมในลักษณะนี้มายาวนานถึง 7 ปี ผมคงไม่ได้บอกว่า 7 ปีนั้นเป็นเวลาสั้นๆ นะครับ แต่ด้วยการเดินตามๆ กัน และไม่มีใครที่คิดจะเป็นผู้สร้างนั้นน่าเป็นห่วงมาก ผมพยายามศึกษาและทดลองจากชุมชนโอเพนซอร์สในประเทศไทย 2-3 ชุมชน ซึ่งพบว่ากระแสการอยากพัฒนาซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สนั้นน้อยมาก น้อยจนน่าตกใจ ผมมักจะถาม @gumara ว่าทำยังไงดี ทำอย่างไรถึงจะมีพัฒนาเพิ่มมากขึ้น เพราะเรื่องนี้น่าเป็นห่วงมาก เรื่องการนำเอาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมาใช้งานนั้นง่ายกว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์ แล้วเปิดเป็นโอเพนซอร์สจริงไหมครับ
อยากเขียนให้ยาวกว่านี้แต่เขียน ไปเรื่อยๆ แล้วรู้สึกหดหู่ใจครับ เพราะหน่วยงานเอกชนก้อจ้องแต่แสวงหาผลกำไร ส่วนภาครัฐก็หวังแต่ผลประโยชน์ไม่ได้มีการส่งเสริมหรือกระตุ้นอย่างจริงจัง จริงใจ ทุกวันนี้ผมเฝ้าหวังว่าคนที่อยู่ในชุมชนโอเพนซอร์สที่เป็น user จะกลายมาเป็น power-user ส่วน power-user ในปัจจุบันจะกลายมาเป็น developer ในชุมชน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้กับชุมชนและซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่เขาใช้ต่อไป ซึ่งคงจะเป็นสิ่งที่หวังได้ในตอนนี้

  • Related Content by Tag