Docker Linux Container เล็ก บาง เบา

เมื่ออาทิตย์ที่แล้วเข้าไปใช้งาน dotCloud พบว่า มีการเปิดตัว Docker.io เท่าที่ดูเหมือน dotCloud จะค่อยๆ ปล่อยของเล่นส่วนตัวออกมาเรื่อยๆ เช่น Hipache เป็นต้น Docker พัฒนาจาก LXC เป็น Linux Container ตัวที่เล็กและเบา จุดเด่นของ Docker คือสามารถทำงานในระดับ process ได้ แยก process โดยใช้ namespace ทำให้คุณสามารถเอาไปประกอบ (ไม่ใช่เอามาใช้แล้วจะกลายเป็น dotCloud นะจ๊ะ) เป็น PaaS ได้ง่ายอย่าง dotCloud เป็นต้น ใครงงๆ ก็ดู รายละเอียดจาก Slideshare ข้างล่าง หรือใครอยากอ่านแบบยาวๆ ก็อ่านเรื่องราว ได้ครับ

Docker ใจดีนอกจากจะมีเครื่องมืออย่าง Linux Container มาให้ใช้ ยังมี API และ Image Repository ที่ชื่อ Docker Index มาให้ใช้ด้วย ซึ่ง Docker Index สามารถดึงเอา Container Image มาใช้ได้ และยังสามารถแชร์ Container ของคุณได้ด้วย น่าสนุกมั๊ย สำหรับท่านที่สนใจลองดูตามลิงค์ข้างล่างครับ

Jaff Lindsay เอา Docker ไปใช้งานในการทำ PaaS ขนาดเล็ก ในโครงการ Dokku ซึ่งจำลอง Heroku ขึ้นมา สามารถทำงานได้ทั้ง 3 Platform คือ Ruby, Java และ Node.js เพิ่มเติมโครงการ Maestro อีกหน่อย อันนี้เป็น Orchestration Tool สำหรับ Docker สามารถสร้าง Container จาก YAML ได้ คล้ายๆ กับการใช้ dotcloud.yaml เลยล่ะ
 

เริ่มใช้ Cloud ง่ายๆ กับ OpenShift Online

OpenShift เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้เขียนบทความอะไรที่เป็นจริงจังมากนัก เอาเป็นว่าครั้งนี้มามัดรวมและสรุปการใช้งาน OpenShift Online กัน หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมถึงมีคำว่า Online ต่อท้าย ที่มีคำว่า Online ต่อท้ายก็เพราะว่า RedHat เปลี่ยนแนวทางของ OpenShift ครั้งใหม่ โดยแบ่งออกเป็น

  1. OpenShift Origin เป็นโครงการโอเพนซอร์สสามารถเอาซอร์สโค้ดไปพัฒนาต่อได้ หรือนำเอาไปใช้งานได้
  2. OpenShift Online เป็น OpenShift ที่ให้บริการที่อยู่ในรูปแบบ Public Cloud
  3. OpenShift Enterprise เป็นบริการเพิ่มจาก RedHat Enterprise สำหรับองค์กรที่ต้องการติดตั้งและใช้งาน OpenShift ในองค์กร

ครั้งนี้เราจะมาพูดถึง OpenShift Online กันครับ เนื่องจากจับต้องได้ง่ายกว่า สำหรับ OpenShift Online ท่านที่สนใจสามารถสมัครใช้บริการได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย เริ่มแรก OpenShift จะให้ใช้งานฟรีอยู่ที่ 3 Gears ถ้าต้องการใช้งานเพิ่มหรือต้องการ Scale มากกว่า 3 Gears ต้องสมัคร Silver Plan คือจ่ายค่าส่วนกลางรายเดือน $20 และจ่ายค่าเช่าใช้แบบ Pay-per-Use ต่อ Gear อีกต่างหาก รายละเอียดในเรื่องของค่าใช้จ่ายดูได้ที่หน้า Pricing
มาเริ่มกันเลยได้ว่า สำหรับท่านที่สมัครสมาชิกไว้แล้วสามารถเลือกการใช้งาน OpenShift Online ได้ 3 ทาง คือ

  1. ผ่านหน้าเว็บ
  2. ผ่าน Command line
  3. ผ่าน IDE ที่รองรับ เช่น JBOSS IDE เป็นต้น

ขอแนะนำการใช้งานผ่าน Command line ก่อนก็แล้วกัน เพราะการใช้งานผ่านหน้าเว็บจะง่ายกว่า 😛 สำหรับการใช้งานผ่าน Command line สามารถใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการ ขอให้มี

  1. Ruby 1.8.7 ขึ้นไป
  2. Git

หลังจากนั้นให้ติดตั้ง RedHat Cloud Client โดยใช้คำสั่ง

gem install rhc

เมื่อติดตั้ง RedHat Cloud Client เรียบร้อยแล้ว ตัวโปรแกรมจะให้เรา Login เข้าสู่ระบบของ OpenShift จากนั้นก็จะลงทะเบียน ssh public key เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย จากนั้นก็มาสร้าง Application บน Cloud ได้เลย OpenShift ใช้คำว่า Programming Cartridge แทนภาษาที่คุณใช้ เช่น ถ้าคุณเขียนภาษา PHP คุณสามารถเลือก Cartridge ได้หลายแบบ เช่น PHP, ZendServer, CakePHP, cakeStrap, CodeIgniter เป็นต้น แต่ OpenShift จะมี Cartridge ที่เป็น Instante App ให้ด้วย เช่น Drupal, WordPress, Dukuwiki เป็นต้น สำหรับการเลือก Cartridge ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการ Cartridge แบบใด บาง Cartridge ไม่สามารถ Scale ได้อัตโนมัติ บาง Cartridge สามารถ Scale ได้ต้องอ่านรายละเอียดของ Cartridge นั้นๆ ให้ดี
มาสร้าง Application กันเลย ใช้คำสั่ง

rhc app create myfirstapp php-5.3

คำสั่งข้างต้นจะสร้าง App ที่ชื่อว่า myfirstapp ที่ใช้ภาษา PHP รุ่น 5.3 เป็นภาษาที่ใช้ในการพัฒนา หากต้องการให้ App สามารถ Scale ได้ ให้ใช้คำสั่ง

rhc app create -s myfirstapp php-5.3

หากต้องการฐานข้อมูลก็ให้เพิ่ม Cartridge เข้าไปเพิ่ม เช่น MySQL เป็นต้น

rhc cartridge add -a myfirstapp -c mysql-5.1

สำหรับการ Scale เราสามารถตั้งค่าจำนวน instance ต่ำสุดและสูงสุดที่จะเพิ่มได้ ยกตัวอย่างเช่น มีโควต้าทั้งหมด 16 Gears ใช้ไปแล้ว 3 Gears (PHP, MySQL, HA Proxy) ต้องการ Scale มากที่สุด 6 น้อยที่สุด 3 ใช้คำสั่งดังนี้

rhc cartridge scale php-5.3 -a myfirstapp --min 3 --max 6

เขียนมายาว ทั้งหมดนี้สามารถตั้งค่าได้จาก Web Console ได้เช่นเดียวกัน สำหรับเอา Application ขึ้น/ลง จะใช้ Git ทุกๆ App จะมี Git repository เป็นของตัวเอง และการใช้ Git คุณก็สามารถ merge code จาก repository อื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น repository ของคุณเอง หรือจาก GitHub ก็ได้
 
 

ตรวจละเมิดลิขสิทธิ์ภาครัฐ

ก่อนปีใหม่มีเรื่องประทับใจจากไมโครซอฟต์ที่จะขอเข้าตรวจสอบซอฟต์แวร์ ละเมิดลิขสิทธิ์ของหน่วยงานราชการหน่วยงานหนึ่งซึ่งเป็นหน่วยงานระดับ กระทรวงเลยทีเดียว ทำเอาหน่วยงานภายใต้สัดกัดและหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ร้อนๆ หนาวๆ การขอเข้าตรวจสอบครั้งนี้เป็นไปตามกฏหมายเนื่องจากมีผู้ร้องทุกข์ซึ่งก็คือ ไมโครซอฟต์นั่นเอง การที่ไม่โครซอฟต์มีหนังสือขาเข้าตรวจสอบละเมิดลิขสิทธิ์ในภาครัฐถือเป็นการ ก้าวข้ามขีดจำกัด เพราะลูกค้ารายใหญ่จริงๆ คือภาครัฐ ซึ่งภาครัฐเองก็ชอบใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้างว่า “ไม่มาตรวจภาครัฐหรอก” ครั้งนี้คงหาข้ออ้างไม่ออกแล้ว
สำหรับการตรวจสอบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในครั้งนี้ยังไม่มีกำหนดเวลา ว่าจะเข้าตรวจช่วงไหนอย่างไร แต่หลายหน่วยงานก็พยายามแก้ปัญหาโดยการทำ Software Asset Management (SAM) เพื่อตรวจสอบว่ามีซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าไร ละเมิดหรือใช้เกินเท่าไร หมดอายุเท่าไร เพื่อหาทางแก้ไข จะตั้งงบจัดซื้อหรือใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สก็ว่ากันไป ครั้งนี้คงไม่ใช่แค่กรณีซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟต์เพียงบริษัทเดียวเพราะอโดบี รอจ่อคิวตามมาเร็วๆ นี้
จากปัญหาข้างต้นทำให้คิดถึงเมื่อหลายปีที่แล้วที่มีการเข้าตรวจค้นโรงงาน แห่งหนึ่งที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งสร้างความเสียหายกว่า 200 ล้านบาท ครั้งนั้นถือว่ามูลค่ามากแล้ว ถ้าการตรวจสอบหน่วยงานภาครัฐทั้งหมดมูลค่าความเสียหายคงมากมหาศาล และไมโคซอฟต์เองคงได้ลูกค้ารายใหญ่อย่างภาครัฐกลับคืน เพราะภาครัฐคงทำอะไรไม่ได้นอกจากเอาเงินจ่ายเพื่อซื้อซอฟต์แวร์ เพื่อแก้ปัญหาอย่างที่ผ่านๆ มา พอได้ฐานลูกค้าแล้ว ปีต่อๆ ไปก็จะมีบิลจ่ายค่าซอฟต์แวร์ออกมาเรื่อยๆ และอย่างที่ทราบกัน ภาครัฐก็จะเอาเงินโกยไปให้อีกตามเคย “เป็นเรื่องที่น่าสงสาร”
งานเขียนนี้คงไม่ได้มาเยินยอซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เพราะไม่มีค่าลิขสิทธิ์ ใช้ได้ฟรีไม่ต้องเสียเงิน จากการรณรงค์ให้ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพื่อเป็นทางออกจากการละเมิด ลิขสิทธิ์และการแก้ปัญหาในทางอ้อมในลักษณะนี้คิดว่าพอแล้ว “ให้โดนจับกันบ้าง” จะได้เข้าใจว่าทำไมจะต้องรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้

เทรนด์เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส และ Cloud Computing

Gartner ประกาศเทรนด์เทคโนโลยีประจำปี 2013 และเป็นอย่างที่คาดไว้คือ Cloud Computing ไม่ได้เป็นเทรนด์อีกต่อไปแล้ว เนื่องจาก Cloud Computing กลายเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอีกต่อไป จากนี้จะเป็นการเชื่อมโยงข้อมูล ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันเข้ากับ Cloud Computing ที่เป็นเทรนด์เทคโนลยีที่ยาวนานมากกว่า 4 ปี และเช่นเดียวกัน การรับเอาโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์มาใช้หรือพัฒนาต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการก็ไม่ได้หยิบยกเอามาอ้างอิงอีกต่อไป เพราะโอเพนซอร์สกลายเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีในปัจจุบันไปแล้วเช่นกัน Gartner เคยทำนายเกี่ยวกับเทรนด์เทคโนโลยีในแต่ละปีไว้อย่างน่าสนใจ มีนัยสำคัญ และสอดคล้องกับความเป็นไปในเทคโนโลยีในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ดังนั้นองค์กรที่สนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีจะติดตามการายงานเทรนด์เทคโนโลยีในทุกๆ ปี บทความนี้เราจะมาระลึกอดีตถึงเทรนด์เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing กัน
เทรนค์ที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเริ่มจาก Gartner ทำนายเกี่ยวกับการเติบโตของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไว้ 3 แนวทาง ๖(เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว)

  • องค์กรมีความรู้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมากขึ้น
  • องค์กรเริ่มรับเอาโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์มาใช้ และพัฒนาต่อยอดมากขึ้น
  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สหันมาใช้ IaaS มากขึ้น
  • โครงการซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่เริ่มทำธุรกิจบน SaaS เริ่มมีการใช้สัญญาอนุญาติแบบ GNU/AGPL

และเทรนค์ที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing มีหลากหลายแง่มุม (เมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว)

  • Cloud Computing เริ่มเข้ามามีบทบาท
  • เกิดบริการ IaaS เพื่อรองรับการใช้งาน Virtual Infrastructure เกิดยุค Pay per Use
  • ธุรกิจซอฟต์แวร์เชิงบริการอย่าง SaaS เริ่มมีอนาคต
  • Mobile App เติบโตและสอดรับกับการเติบโตของ SaaS
  • เกิดบริการ Storage บน Cloud มากขึ้น
  • เกิดบริการ BI และเกี่ยวข้องกับ BIG Data บริการ IaaS และ SaaS
  • เกิดบริการ App Store บริการ SaaS

Continue reading

วัฒนธรรม Me Too กับการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส

เปลี่ยนมาใช้โอเพนซอร์ส ให้ภาครัฐใช้ก่อน ถึงจะใช้ตาม, ของผิดกฏหมายเต็มไปหมดแผ่นละ 50 บาทบ้าง 200 บาทบ้าง ไม่เห็นมีใครทำอะไรแล้วจะมารณรงค์ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทำไม ทั้งๆ ที่ของเถื่อนยังมีอยู่, จะใช้ทำไมใช้ยากเหมาะสำหรับคนเก่งๆ เขาใช้กัน, ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้งานไม่ได้ ฯลฯ เรามักจะได้ยินหลายคนพูดอย่างนี้ใช่มั๊ยครับ แล้วท่านเคยได้ยินอย่างนี้มั๊ยครับ โครงการส่งเสริมการใช้งาน Open Source ในหน่วยงาน เพื่อทำให้เป็นองค์กรที่เป็นแบบอย่างในการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ถูกต้อง หลายท่านอาจไม่คิดว่ามีอย่างนี้ด้วยหรือ? แต่ในความเป็นจริงแล้วเขาทำกันไปตั้งนานแล้วครับ ใครที่เพิ่งมาคิดทำกันตอนนี้เรียกได้ว่าเชยมากๆ
ที่ผ่านมา Thai Open Source นำเสนอบทความเกี่ยวกับโอเพนซอร์สมาพอสมควร แนวทางด้านบวกบ้างด้านลบบ้าง แต่ท่านที่เคยได้อ่านอาจจะเข้าใจโอเพนซอร์สมากขึ้น เข้าใจถึงความยากลำบากของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่ย่อท้อในการพัฒนา ซอฟต์แวร์ในวิถีทางโอเพนซอร์ส เข้าใจว่ายังมีกลุ่มคนที่พยายามผลักดันโอเพนซอร์สในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ หากท่านเป็นคนหนึ่งที่อยากหันมาใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพราะไม่อยากละเมิด ลิขสิทธิ์ ไม่อยากขโมยของๆ คนอื่นมาใช้ การเริ่มต้นด้วยตัวของท่านเองสามารถทำได้ครับ ไม่ต้องรอคนอื่นก็เหมือนกับการทำความดี
อย่ามองว่าบริษัทซอฟต์แวร์ คิดราคาแพงหูฉี่ หรือมองบริษัทซอฟต์แวร์เห็นแก่ตัว ฯลฯ หากแต่เพราะกลไกทางธุรกิจ เมื่อมีผลิตภัณฑ์หรือสินค้า การจำหน่ายหรือวิธีการที่จะได้มาครอบครองต้องมีการแลกเปลี่ยนด้วยตัวเงิน เสมอ เพราะซอฟต์แวร์ไม่ได้เพาะเมล็ด หรือรดน้ำลงพื้นแล้วได้เป็นแผ่นโปรแกรมออกมาหากต้องใช้แรงงานแรงกายและกำลัง ทรัพย์ในการพัฒนา จัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ออกมา ซึ่งซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สก็เช่นเดียวกัน หากคุณมีเงินไม่พอที่จะซื้อหามาได้ อย่าขโมยใช้ หากมีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่สามารถหยิบจับเอามาใช้ได้ก็ใช้เถอะครับ หากมีกำลังทรัพย์เพียงพอก็ซื้อซอฟต์แวร์ที่คุณอยากใช้ให้ถูกต้อง ถูกกฏหมาย
หลาย ท่านอาจแย้งว่าการใช้ซอฟต์แวร์ที่ละเมิดก็เหมือนกับการขโมยหรือเป็นโจร ซึ่งดูรุนแรงไป แต่หากมามองทางด้านจริยธรรม หากคุณมีสินค้าของคุณแลัวมีคนมาขอซื้อไปใช้งาน แต่อีก 10 นาที มีสินค้าของคุณที่เป็นของก็อปวางแผงกันกลื่นขายแข่งกับสินค้าของคุณเอง คุณจะทำอย่างไร? คุณจะเอาเงินที่ไหนไปจ้างลูกน้อง จ่ายค่าโน่นนี่ จิปาถะ ในต่างประเทศมีการรณรงค์ให้ใช้สินค้าที่ถูกกฏหมายและมีบทลงโทษรุนแรงมาก สำหรับผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าลอกเลียนหรือสินค้าที่ผิดกฏหมาย บางประเทศการไม่เคารพในเรื่องของลิขสิทธิ์ถือว่าไม่มีการเคารพความเป็น มนุษย์กันเลยทีเดียว หากใครเคยซื้อแผ่น DVD จะมีภาพยนต์สั้นที่บอกว่า การซื้อ DVD ที่ผิดกฏหมายคืออาชญากรรม ซึ่งมันก็เป็นเช่นนั้น แล้วในประเทศเราล่ะจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร
การแก้ปัญหาการละเมิด ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ไม่ได้แก้ปัญหาด้วยการหันมาใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส หากแต่ต้องเริ่มที่จิตวิญญาณที่ว่า เราจะไม่ทำในสิ่งที่ผิด เราจะเป็นคนดี เพียงเท่านี้เอง ส่วนการหันมาใช้ซอฟแวร์โอเพนซอร์สนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง หากทุกคนคิดได้เช่นนี้ ทุกคนจะมีภูมิคุ้มกันที่จะไม่ละเมิดสิทธิ์ในกรณีอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น เรื่องเพลงก็อป รองเท้า กระเป๋า เสื้อผ้า ฯลฯ อ้อ อีกอย่างการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ไม่เกี่ยวกับเรื่องของความพอเพียง อย่าสับสนกัน การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับตนเอง ไม่ละเมิดสิทธิ์คนอื่น ไม่ได้เกี่ยวกับความพอเพียงแต่อย่างใด เขียนมายืดยาวก็เพียงอยากอธิบายให้เข้าใจว่าการทำดีเริ่มได้ที่ตัวท่านเอง การใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สก็เริ่มได้ที่ตัวท่านเองเช่นกัน

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีราคา

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงเขียนเรื่องนี้ทั้งๆ ที่เว็บไซต์นี้เกี่ยวกับโอเพนซอร์สอยากให้ท่านได้ลองอ่านแล้วพิจารณาสักนิด ว่าจริงหรือไม่ ซอฟต์แวร์(โอเพนซอร์ส)มีราคา จากอาทิตย์ที่ผ่านมาได้พูดคุยกับผู้ประกอบการทั้งทางด้าน ISV และผู้ประกอบการด้าน Training ผมหยิบเอาปัญหาไปอภิปายเพื่อหาแนวทางแก้ไขซึ่งหลายคนที่ผมพูดคุยด้วยต่าง เห็นตรงกันว่า ซอฟต์แวร์ที่เป็นโอเพนซอร์สและไม่เป็นโอเพนซอร์สที่อยู่ในกระบวนการธุรกิจ นั้นมีราคา ซึ่งราคาที่ว่านี้ไม่ได้อยู่ที่ 0 บาท ธุรกิจซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่ได้มีรายได้จากการบริจาค (Donate) หากรอคนบริจาคซึ่งมีอยู่เพียงน้อยนิดก็คงไม่ต้องกินข้าวกันพอดี ถ้าโปรแกรมเมอร์กินหญ้าได้ก็คงปลูกหญ้ากินไปแล้วล่ะครับ หากเคยอ่านบทความเก่าๆ ที่เคยเขียนเกี่ยวกับ Positive Cycle ท่านคงทราบแล้วว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นมือถือ เซิร์ฟเวอร์ หรือแม้กระทั่ง Router อันเล็กๆ ก็ประกอบไปด้วยซอฟต์แวรโอเพนซอร์ส ซึ่งท่านก็ต้องซื้อหามาใช้งาน นั่นทำให้ท่านต้องจ่ายเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา เอาล่ะหลายคนอาจมองเรื่องราคาในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการแบ่งสัดส่วนราคา ตามราบละเอียดที่ควรจะมี เช่น ค่าพัฒนา ค่าออกแบบ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งการกำหนดราคาแบบนี้ใช้ไม่ได้กับซอฟต์แวร์ที่เป็นกล่องๆ ใช้ได้เพียงการกำหนดราคาโครงการซอฟต์แวร์ในรูปแบบ tailer made เท่านั้น ซึ่งแน่นอนหากใช้ โอเพนซอร์สระยะเวลาในการพัฒนาและราคาต้นทุนจะต่ำ แต่ก็ยังคงมีราคาแต่ราคาที่ว่านี้จะตกไปอยู่ในส่วนของค่าบริการ ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากส่งมอบผลิตภัณฑ์นั้นๆ
หลายท่านอาจเห็นแย้งว่า ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สต้องฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย นั่นคงไม่ใช่หากซอฟต์แวร์เปล่านั้นเกิดขึ้นเองได้ ไม่ต้องมีคน contribute หรือไม่มีใครพัฒนาหรือเป็นคนต้นคิด อย่างนั้นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สคงไม่มีค่าใช้จ่าย หากแต่ซอฟต์แวร์เกิดขึ้นเองไม่ได้ ดังนั้นโมเดลธุรกิจเริ่มแรกเพื่อเป็นการจุนเจือนักพัฒนาและ contributor คือการบริจาค (Donate) แล้วก็พัฒนาซอฟต์แวร์ไปเรื่อยๆ ตามโอกาสจะเอื้ออำนวย เอาล่ะในแต่เชิงธุรกิจทำเช่นนั้นไม่ได้ รายได้ที่ได้จากการบริจาคต้องมากพอที่จะเลี้ยงพนักงานในบริษัทนั้นๆ ดังนั้นการพัฒนาต่อยอดซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ในรูปแบบธุรกิจจึงต้องมีราคา ซึ่งราคาไม่ใช่ 0 บาทดังเหตุผลข้างต้น เอาล่ะการทำเช่นนี้หากจะเรียกว่าหยิบฉวยโอกาสและข้อดีต่างๆ ของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมาปรับใช้ในธุรกิจซอฟต์แวร์ แต่มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ ISV จะต้องพึงระรึกเสมอว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณพัฒนาต่อยอดหรือหยิบเอามาทำตลาดนั้นมา จากกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นผู้เริ่มต้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การ contribute งานกลับเข้าไปยังต้นน้ำยังเป็นเรื่องที่สำคัญ นั่นก็เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับซอฟต์แวร์ที่พัฒนาต่อยอดขึ้นมาแล้วหากจะจำหน่ายก็ควรพิจารณาในเรื่อง ของราคาต่างๆ ให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
การกำหนดราคาซอฟต์แวร์ถือว่า เป็นปัญหาโลกแตกในประเทศไทย ซึ่งภาครัฐเองพยายามกำหนดราคากลางของซอฟต์แวร์รวมไปถึงคุณสมบัติเบื้องต้น ที่พอเหมาะพอควรกับซอฟต์แวร์นั้นๆ ซึ่งราคาบางอย่างเหมาะสมกับซอฟต์แวร์แพคเกจ แต่ไม่เหมาะสมกับซอฟต์แวร์แบบ tailer made ซึ่งปัญหาเหล่านี้คงต้องหาทางแก้ไขกันต่อไป สำหรับผู้ใช้อย่างเราๆ ท่านๆ ก็คงอดคิดไม่ได้ว่าทำไม ราคาซอฟต์แวร์มันถึงได้แพงอย่างนั้น ให้ฟรีได้มั๊ย ฯลฯ การพิจารณาความคุ้มค่าในเรื่องการลงทุนจัดซื้อซอฟต์แวร์ต่างๆ อย่างหนักซึ่งวิธีการคิดง่ายๆอย่าง TCO ก็เป็นวิธีคิดที่ดีเช่นกัน เอาล่ะผมคงไม่ได้เชียร์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่อยากให้ผู้ใช้หรือลูกค้าเป็นผู้เลือกน่าจะเหมาะสมกว่า ประเด็นในเรื่องราคาคงไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับบ้านเรา เพราะลูกค้าเองก็ต้องการซอฟต์แวร์ที่มีคุณสมบัติที่ทำงานได้และราคาที่รับ ได้ คงไม่ใช่ 0 บาท หรือราคาที่อื้มไม่ถึง การเปิดรับในเรื่องการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่ว่าจาก ISV หรือจากซอฟต์แวร์ต้นน้ำก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้อีกเช่นกัน

ทรัพย์สินทางปัญญาไม่ใช่ปัญหา

ประเทศไทยมีกฏหมายว่าด้วยเรื่องทรัพย์สินทางปัญญามาหลายปีแล้วแต่การ บังคับใช้ไม่ค่อยได้ผล เพราะค่านิยมในการเลือกบริโภคสินค้าปลอมที่มีราคาเย้ายวนใจ อีกทั้งยังเทียบได้กับของแท้ สินค้าที่ถูกละเมิดเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า สบู่ ยาสีฟัน และอื่นๆ อีกมากมาย สิ่งเหล่านี้สร้างปัญหาให้กับประเทศไทยมากกว่าสร้างปัญญาเสียอีก การเพิกเฉยของเจ้าหน้าที่รัฐอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหรือช่องโหว่ทางกฏหมาย ไม่ได้ควบคุมสินค้าปลอมเหล่านี้ไม่ให้หลั่งไหลเข้าสู่ตลาดผู้บริโภค ทำให้การแก้ปัญหาไม่ได้ผลและไม่เคยได้ผลเหมือนไม่มีกฏหมายอยู่ หลายคนมักจะให้เหตุผลต่างๆ นานาว่ามันเป็นเรื่องของจริยธรรม ศีลธรรม ใครๆ เขาก็ซื้อหามาใช้กัน และ อีกหลากหลายเหตุผล แล้วเรื่องเหล่านี้จะแก้ไขอย่างไร จะให้มีการจับกุมกันตามบ้านเรือนหรือไม่ หรือให้ตรวจจับเฉพาะผู้ขายอย่างเดียว ?
หากมามองเรื่องการซื้อขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ก็เหมือนกับการได้แต้ม แต้มที่ว่านี้คือแต้มในฐานะทางสังคม ลองมาคิดดูว่าหากคุณสามารถซื้อกระเป๋าหลุยส์ได้ในราคาย่อมเยาว์แต่ถือแล้วดู เก๋ ซื้อเล่นแต่เหมือนจริง คิดว่าสาวๆ หลายคนก็คงชอบ ลองมาสลับด้านกัน ผู้ขายทราบว่าผู้ซื้อชอบสินค้าราคาถูก ชอบสินค้าซื้อเล่นแต่เหมือนจริง ความต้องการด้านการบริโภคสูงมาก การนำเอาสินค้าเหล่านี้มาขายก็ดูจะได้กำไรมากเพราะต้นทุนไม่สูงมากนักหาก เทียบกับสินค้าของแท้และแน่นอนได้กำไรไม่ต่ำว่า 500-600 เปอร์เซนต์ ผู้บริโภคต้องการของเหมือนจริงส่วนผู้ขายก็ได้กำไร ถือว่า win-win ทั้งคู่ แต่ความสุขไม่ได้อยู่ผู้ซื้อและผู้ขาย ผู้ผลิตสินค้าที่ให้เราซื้อเล่นแต่เหมือนจริง นี่สนุกกว่าเพราะผลิตกันไม่ทันเรียกได้ว่าความต้องการล้นหลาม หากมานึกถึงเรื่องเศรษฐศาสตร์เราจะพบว่าเศรษฐกิจดีมาก demand และ supply สอดรับกันดีสร้างกำไรได้งดงาม แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเศรษฐศาสตร์ที่อยู่ในรูปแบบที่ผิดกฏหมาย สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจหลายพันล้านบาท ความเสียหายไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ซื้อหรือผู้ขาย แต่ความเสียหายเกิดขึ้นกับผู้ผลิตสินค้าตัวจริง เจ้าของสินค้าของจริง สินค้าที่ผลิตออกมาแต่ขายไม่ได้เลยสักชิ้น เจ้าของสินค้าตัวจริงคงไม่ win-win ด้วย Continue reading

OpenID บริการดีที่ไม่ค่อยมีใครใช้

หลายๆ คนพูดถึง OpenID เว็บไซต์ที่ให้บริการล็อกอินที่พัฒนาภายใต้ OpenID Foundation แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจว่ามันเป็นยังไง เอาล่ะเว็บไซต์หลากหลายเว็บก้อพยายามหาวิธีการอธิบายว่าการใช้งาน OpenID หรือการพัฒนาโครงการโดยใช้ OpenID เป็นตัวตรวจสอบผู้ใช้มันดียังไง อย่างน้อยการอธิบายที่ผ่านๆ มาก้อทำได้ดีมีหลายๆ คนเป็นแฟนพันแท้ OpenID แบบตั้งใจและที่ไม่ได้ตั้งใจอย่าง เช่น blogger, wordpress, google, yahoo เป็นต้น แต่ก้อไม่ทุกคนหรอกที่จะใช้ OpenID อ้อที่จริงแล้วผู้ใช้เดิมเริ่มไม่อยากใช้ต่างหาก ใน Wikipedia บอกว่ามีเว็บไซต์ที่ใช้บริการ OpenID กว่า 27,000 เว็บไซต์ และจำนวนตัวเลขก้อมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การใช้งาน OpenID ของผู้ใช้ก้อมีสูงมากขึ้นด้วย เว็บไซต์หลายๆ เว็บอย่าง SourceForge, Yahoo และ LiveJournal ก้อสามารถใช้บัญชี OpenID ล็อกอินเข้าใช้บริการได้ แต่ Wetpaint ได้ออกมาประกาศว่าจะไม่สนับสนุนการล็อกอินผ่าน OpenID บน Wiki ของเว็บอีกต่อไป โดยได้อ้างเหตุผลว่าจำนวนผู้ใช้ต่ำมาก และมีต้นทุนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ใช้ จากผู้ใช้หลายล้านคนมีเพียง 200 คนเท่านั้นที่ใชเ OpenID ซึ่งมันไม่คุ้มกับการลงทุนสักเท่าไร ด้วยความหวังที่ว่ายอดจำนวนผู้ใช้เว็บไซต์เยะมากขึ้นตามจำนวนผู้ใช้ OpenID แต่ในความเป็นจริงกลับมีจำนวนผู้ใช้น้อยกว่าที่ทาง Wetpaint คาดการณ์เอาไว้ Dave Kearns แห่งเว็บไซต์ Network World’s ได้กล่าวว่า OpenID เสีย mojo ของตัวเองไปซะแล้ว แต่ก้อไม่ทุกเว็บไซต์ที่ถอด OpenID ออกจากเว็บไซต์ของตัวเอง นักพัฒนาจาก Amarok เป็นแฟนพันธ์แท้ของ OpenID ที่รักการใช้งาน OpenID? เป็นชีวิตจิตใจซึ่งให้เหตุผลที่เข้าใจง่ายๆ ว่าทำไมคุณถึงต้องใช้ OpenID ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริการ ความสะดวก รวมไปถึงการป้องกันข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ฯลฯ แล้วคุณล่ะครับ ใช้ OpenID กันบ้างหรือเปล่า? ชอบหรือไม่ชอบอย่างไร ก้อแสดงความคิดเห็นกันต่อได้ครับ

ละเมิดลิขสิทธิ์แก้ไขได้

หลายท่านที่กำลังละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ โดยทางตรง, ทางอ้อม หรือโดยไม่รู้ตัว คุณกำลังตกอยู่ในอันตรายจากการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ และยังผิดกฏหมายอีกด้วย หากท่านทราบว่าท่านกำลังละเมิดลิขสิทธิ์ ท่านแก้ไขได้! ก่อนอื่นอยากให้อ่าน ความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา และ รู้จริงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ดังลิงค์ข้างล่าง
* ความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา
* รู้จริงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
สำหรับท่านที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ท่านสามารถแก้ไขด้วยวิธีง่ายๆ คือ
1. ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส หรือ
2. ซื้อซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง
ท่าน ที่มีงบประมาณเพียงพอสามารถจัดซื้อซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องได้โดยไม่ ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายมากนัก หากท่านที่ไม่งบประมาณสามารถใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ไม่มีค่าใช้จ่าย เรื่องลิขสิทธิ์ และท่านสามารถทำได้ด้วยตัวท่านเอง ดังนี้ Continue reading

จับจริง ปรับจริง

ช่วงนี้เป็นฤดูกาลจับผู้กระทำความผิดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งทางเจ้าพนักงานกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง เศรษฐกิจได้เดินสายตามที่ผู้เสียหายได้แจ้งความเอาไว้ หลายจังหวัดเกิดความหวั่นวิตกเพราะทราบว่าใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดอยู่หลายตัว เหมือนกันทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ แต่ส่วนใหญ่จะทราบและปล่อยปละละเลยไม่สนใจ คิดว่าไม่มีใครมาตรวจจับ ในท้ายที่สุดก็ต้องเป็นกังวลว่าจะโดนตรวจจับในอาทิตย์นี้หรืออาทิตย์ไหน เท่าที่ทราบมาการตรวจจับจะทวีความเข้มข้นมากขึ้นทั้งนี้เพื่อปกป้องสิทธิของ ผู้เสียหายนั่นคือผู้ผลิตซอฟต์แวร์นั่นเอง
หน่วยงานภาครัฐอย่างกรมทรัพย์สินทางปัญญา, สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ พยายามสื่อสารในสื่อต่างๆ เพื่อแจ้งให้ทุกคนทราบว่า จับจริงๆ ปรับจริงๆ นะ หลังจากวันที่ 26 เดือนตุลาคมที่ผ่านมาก็พบว่ามีโรงงาน สถานศึกษา บริษัท หน่วยงานรัฐ หลายแห่งโดนตรวจสอบ หลายแห่งไหวตัวทัน ซื้อซอฟต์แวร์ที่ถูกกฏหมายได้ทันท่วงที หลายแห่งต้องโดนจับ โดนปรับไปหลายล้านบาท! หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมแค่ซอฟต์แวร์ไม่กี่ตัวถึงมีราคาค่าปรับแพงมากนัก เดี๋ยวค่อยมาดูตัวเลขค่าปรับกันทีหลัง การตรวจจับในกรณีละเมิดลิขสิทธิ์นี้จะทำโดนเจ้าพนักงาน กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจเท่านั้น! ไม่ใช่ตำรวจในท้องที่ หรือตำรวจหน่วยงานอื่นๆ หลายท่านสงสัยว่าหน่วยงานไหนเป็นผู้ดำเนินการก็หน่วยงานกองบังคับการ ปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นี่แหละครับ Continue reading