เนื่องจากหมดความอดทนกับการหาเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาทดสอบซอฟต์แวร์ ทำให้ต้องพึ่ง AWS เนื่องจากกดสร้าง instance จาก ami ของ Linux ตระกูลต่างๆ ได้เลย ง่ายเพียงแค่กด URL เท่านั้น ตัวอย่าง Fedora in the Cloud เรื่องของเรื่องคือใครแม่มจะจำเลข ami ได้อ่ะ พอกลับมาใช้ AWS ได้ 1 อาทิตย์ก็รู้เลยว่า ไม่ค่อยชอบ IaaS สักเท่าไร ผมพยายามหนีเรื่องการติดตั้งโปรแกรมบน instance เพราะมันน่าเบื่อ อีกอย่างต่อให้อยู่บน Cloud คุณก็ต้องทำ Hardening OS เหมือนเดิม หนีไม่พ้น
การใช้ PaaS ง่ายกว่ามาก แต่บางอย่าง (จริงๆ ก็เกือบทุกอย่าง) เราก็ควบคุมไม่ได้ หรืออาจจะต้องไปเรียกใช้บริการจากผู้ใช้บริการรายอื่นซึ่งดูไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไร เช่น Storage ที่มีให้มันน้อยไป ทางออกคือใช้บริการ Object Storage ที่สามารถสร้าง bucket ได้ใหญ่ตามที่คุณต้องการได้ แต่ PaaS บางรายไม่มีให้บริการ เรื่องการ Elastic Scaling ที่ทำไม่ได้ทำได้ทุก Platform เช่น Scaling MySQL ไม่ได้ แต่ Scaling MongoDB ได้ ต้องแก้ App ให้มาใช้ MongoDB แทน อันนี้ใช้พลังเยอะไปหน่อย แต่ในระยะยาวการทำ Cloud App ยังไงก็ต้องแก้อยู่ดี
ผมก็ยังใช้ IaaS และ PaaS หลายผู้ให้บริการเหมือนเดิม ขึ้นอยู่กับความต้องการตามความเร็วของการทำงาน เช่น ผมมักจะทำ prototype บน OpenShift เพราะดึงเอา code จาก git และสั่งงานผ่าน hook script ทำให้ deploy ได้ง่าย ทำ CI ได้ง่าย แต่เวลาส่งงานหรือใช้งานจริง ผมมักจะเลือก IaaS อย่าง AWS หรือ PaaS อย่าง dotCloud ใช้บริการแทน เนื่องจากบริการ Silver Plan ของ OpenShift ยังไม่ได้เปิดบริการในประเทศไทยและยังจ่ายเงินไม่ได้ ก็เลยต้องใช้บริการจากผู้ให้รายบริการอื่นแทน
อ้อเกือบลืม ผมใช้ AWS ตั้งแต่ปี 2008 เวลาดู Billing ของ EC2 แล้วรู้สึกเหมือนย้อนอดีตเลยล่ะ
Cloud Computing
There are 31 posts tagged Cloud Computing (this is page 2 of 4).
เริ่มใช้ Cloud ง่ายๆ กับ OpenShift Online
OpenShift เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้เขียนบทความอะไรที่เป็นจริงจังมากนัก เอาเป็นว่าครั้งนี้มามัดรวมและสรุปการใช้งาน OpenShift Online กัน หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมถึงมีคำว่า Online ต่อท้าย ที่มีคำว่า Online ต่อท้ายก็เพราะว่า RedHat เปลี่ยนแนวทางของ OpenShift ครั้งใหม่ โดยแบ่งออกเป็น
- OpenShift Origin เป็นโครงการโอเพนซอร์สสามารถเอาซอร์สโค้ดไปพัฒนาต่อได้ หรือนำเอาไปใช้งานได้
- OpenShift Online เป็น OpenShift ที่ให้บริการที่อยู่ในรูปแบบ Public Cloud
- OpenShift Enterprise เป็นบริการเพิ่มจาก RedHat Enterprise สำหรับองค์กรที่ต้องการติดตั้งและใช้งาน OpenShift ในองค์กร
ครั้งนี้เราจะมาพูดถึง OpenShift Online กันครับ เนื่องจากจับต้องได้ง่ายกว่า สำหรับ OpenShift Online ท่านที่สนใจสามารถสมัครใช้บริการได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย เริ่มแรก OpenShift จะให้ใช้งานฟรีอยู่ที่ 3 Gears ถ้าต้องการใช้งานเพิ่มหรือต้องการ Scale มากกว่า 3 Gears ต้องสมัคร Silver Plan คือจ่ายค่าส่วนกลางรายเดือน $20 และจ่ายค่าเช่าใช้แบบ Pay-per-Use ต่อ Gear อีกต่างหาก รายละเอียดในเรื่องของค่าใช้จ่ายดูได้ที่หน้า Pricing
มาเริ่มกันเลยได้ว่า สำหรับท่านที่สมัครสมาชิกไว้แล้วสามารถเลือกการใช้งาน OpenShift Online ได้ 3 ทาง คือ
- ผ่านหน้าเว็บ
- ผ่าน Command line
- ผ่าน IDE ที่รองรับ เช่น JBOSS IDE เป็นต้น
ขอแนะนำการใช้งานผ่าน Command line ก่อนก็แล้วกัน เพราะการใช้งานผ่านหน้าเว็บจะง่ายกว่า 😛 สำหรับการใช้งานผ่าน Command line สามารถใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการ ขอให้มี
- Ruby 1.8.7 ขึ้นไป
- Git
หลังจากนั้นให้ติดตั้ง RedHat Cloud Client โดยใช้คำสั่ง
gem install rhc
เมื่อติดตั้ง RedHat Cloud Client เรียบร้อยแล้ว ตัวโปรแกรมจะให้เรา Login เข้าสู่ระบบของ OpenShift จากนั้นก็จะลงทะเบียน ssh public key เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย จากนั้นก็มาสร้าง Application บน Cloud ได้เลย OpenShift ใช้คำว่า Programming Cartridge แทนภาษาที่คุณใช้ เช่น ถ้าคุณเขียนภาษา PHP คุณสามารถเลือก Cartridge ได้หลายแบบ เช่น PHP, ZendServer, CakePHP, cakeStrap, CodeIgniter เป็นต้น แต่ OpenShift จะมี Cartridge ที่เป็น Instante App ให้ด้วย เช่น Drupal, WordPress, Dukuwiki เป็นต้น สำหรับการเลือก Cartridge ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการ Cartridge แบบใด บาง Cartridge ไม่สามารถ Scale ได้อัตโนมัติ บาง Cartridge สามารถ Scale ได้ต้องอ่านรายละเอียดของ Cartridge นั้นๆ ให้ดี
มาสร้าง Application กันเลย ใช้คำสั่ง
rhc app create myfirstapp php-5.3
คำสั่งข้างต้นจะสร้าง App ที่ชื่อว่า myfirstapp ที่ใช้ภาษา PHP รุ่น 5.3 เป็นภาษาที่ใช้ในการพัฒนา หากต้องการให้ App สามารถ Scale ได้ ให้ใช้คำสั่ง
rhc app create -s myfirstapp php-5.3
หากต้องการฐานข้อมูลก็ให้เพิ่ม Cartridge เข้าไปเพิ่ม เช่น MySQL เป็นต้น
rhc cartridge add -a myfirstapp -c mysql-5.1
สำหรับการ Scale เราสามารถตั้งค่าจำนวน instance ต่ำสุดและสูงสุดที่จะเพิ่มได้ ยกตัวอย่างเช่น มีโควต้าทั้งหมด 16 Gears ใช้ไปแล้ว 3 Gears (PHP, MySQL, HA Proxy) ต้องการ Scale มากที่สุด 6 น้อยที่สุด 3 ใช้คำสั่งดังนี้
rhc cartridge scale php-5.3 -a myfirstapp --min 3 --max 6
เขียนมายาว ทั้งหมดนี้สามารถตั้งค่าได้จาก Web Console ได้เช่นเดียวกัน สำหรับเอา Application ขึ้น/ลง จะใช้ Git ทุกๆ App จะมี Git repository เป็นของตัวเอง และการใช้ Git คุณก็สามารถ merge code จาก repository อื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น repository ของคุณเอง หรือจาก GitHub ก็ได้
มาเรียน OpenShift Platform as a Service กัน
ผมเปิดคอร์ส Android ที่ ClassStart.org เอาเอกสารการสอนและวิดีโอขึ้นไปหมดแล้ว แต่คิดว่าน่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกหน่อยแต่คงทะยอยทำขึ้นไปเรื่อยๆ ช่วงก่อนสงกรานต์มีผู้ใหญ่ท่านนึงมาจุดประกายเรื่อง OpenShift ไว้ก็เลยทำ Slide + Video การใช้งาน OpenShift เพิ่มเติมเป็นเนื้อหาพิเศษที่ ClassStart.org แต่ไม่ได้เป็นคอร์สแยก คิดว่าจะทำเป็นคอร์สแยกในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า (นานไปมั๊ย) สำหรับผู้ที่สนใจก็สามารถเข้าไปเรียนได้ครับ อ้อ สำหรับท่านที่ไม่สะดวกก็สามารถดู Slide ข้างล่างได้ครับ
ส่วนวิดีโอ Tutorial จะเป็น Video ใบ้ ใช้ประกอบกับ Slide ในแต่ละส่วนมีดังนี้
- สมัครสมาชิก, ติดตั้ง Client Tool และสร้าง App
- Deploy App ด้วย Git
- เพิ่ม Cartridge ให้ App
- ตั้ง Port Forward สำหรับจัดการ services
- ทดสอบ Auto Scaling
- สร้าง App ด้วย Management Console
เทรนด์เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส และ Cloud Computing
Gartner ประกาศเทรนด์เทคโนโลยีประจำปี 2013 และเป็นอย่างที่คาดไว้คือ Cloud Computing ไม่ได้เป็นเทรนด์อีกต่อไปแล้ว เนื่องจาก Cloud Computing กลายเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอีกต่อไป จากนี้จะเป็นการเชื่อมโยงข้อมูล ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันเข้ากับ Cloud Computing ที่เป็นเทรนด์เทคโนลยีที่ยาวนานมากกว่า 4 ปี และเช่นเดียวกัน การรับเอาโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์มาใช้หรือพัฒนาต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการก็ไม่ได้หยิบยกเอามาอ้างอิงอีกต่อไป เพราะโอเพนซอร์สกลายเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีในปัจจุบันไปแล้วเช่นกัน Gartner เคยทำนายเกี่ยวกับเทรนด์เทคโนโลยีในแต่ละปีไว้อย่างน่าสนใจ มีนัยสำคัญ และสอดคล้องกับความเป็นไปในเทคโนโลยีในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ดังนั้นองค์กรที่สนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีจะติดตามการายงานเทรนด์เทคโนโลยีในทุกๆ ปี บทความนี้เราจะมาระลึกอดีตถึงเทรนด์เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing กัน
เทรนค์ที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเริ่มจาก Gartner ทำนายเกี่ยวกับการเติบโตของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไว้ 3 แนวทาง ๖(เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว)
- องค์กรมีความรู้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมากขึ้น
- องค์กรเริ่มรับเอาโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์มาใช้ และพัฒนาต่อยอดมากขึ้น
- นักพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สหันมาใช้ IaaS มากขึ้น
- โครงการซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่เริ่มทำธุรกิจบน SaaS เริ่มมีการใช้สัญญาอนุญาติแบบ GNU/AGPL
และเทรนค์ที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing มีหลากหลายแง่มุม (เมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว)
- Cloud Computing เริ่มเข้ามามีบทบาท
- เกิดบริการ IaaS เพื่อรองรับการใช้งาน Virtual Infrastructure เกิดยุค Pay per Use
- ธุรกิจซอฟต์แวร์เชิงบริการอย่าง SaaS เริ่มมีอนาคต
- Mobile App เติบโตและสอดรับกับการเติบโตของ SaaS
- เกิดบริการ Storage บน Cloud มากขึ้น
- เกิดบริการ BI และเกี่ยวข้องกับ BIG Data บริการ IaaS และ SaaS
- เกิดบริการ App Store บริการ SaaS
พัฒนา Foursquare ของตัวเองด้วย MongoDB บน Cloud
ทีม RedHat OpenShift ได้นำเสนอ Video พัฒนา Foursquare ของตัวเองด้วย MongoDB บน OpenShift ซึ่ง Video นี้นำเสนอความสามารถในเรื่องของการทำ index แบบ geospatial บน MongoDB และการออกแบบ collection กำหนดคุณสมบัติ ให้ทำงานได้เหมือนกับ Foursquare อยากรู้ว่าทำยังไง สามารถดูได้จาก Video ข้างล่างครับ
ดูวิดีโอ SaaS เปลี่ยนธุรกิจซอฟต์แวร์อย่างไร
ช่อง Windows Azure บน Youtube นำเสนอ Video ชุด How SaaS Changes an ISV’s Business ซึ่งเป็นวิดีโอที่น่าสนใจมาก David Chappell จะมาอธิบายว่า SaaS เปลี่ยนธุรกิจซอฟจ์แวร์อย่างไร สำหรับท่านที่สนใจสามารถดูได้จาก Video ข้างล่าง หรือติดตามได้ที่ Windows Azure Channal
มาใช้งาน HP Cloud กัน
ผมได้รับ Invite จาก HP เพื่อเข้าทดสอบใช้งาน HP Cloud ต้อนรับวันวาเลนไทน์กันเลยทีเดียว เบื้องหลังของ HP Cloud ใช้ OpenStack เป็น Cloud Platform ซึ่งท่านที่สนใจสามารถสมัครและเปิดใช้งานได้เลย บริการที่ HP Cloud มีให้ได้แก่
- HP Cloud Compute
- HP Object Storage
นอกจากนี้คุณยังบริหารจัดการผ่านทาง Web Management Console หรือใช้งานผ่าน REST APIs ได้อีกด้วย สำหรับท่านที่เปิดใช้งานจะได้รับ HP Compute 2 ชุด และ Object Storage 1 ชุด สำหรับท่านที่ต้องการ Activate เพื่อใช้งาน โปรดเตรียมบัตรเครดิต กรอกข้อมูล Payment Method ให้เรียบร้อยแล้วเปิดใช้งานได้เลย ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จาก Video ข้างล่าง
HP Cloud Services: Getting Started from HP Cloud on Vimeo.
พัฒนา Web App บน Cloud ด้วย Zend Developer Cloud
มค้างบทความเรื่อง PaaS สุด Hit อีกตัวหนึ่งไว้ ดองไว้นานไม่ได้เขียนสักที PaaS ตัวนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Zend Developer Cloud หรือในชื่อที่คุ้นหูว่า PHP Cloud ใช่ครับ Platform as a Service โดย Zend บริษัทผู้พัฒนา PHP นั่นเอง ผมได้คำเชิญจากทีมพัฒนา PHP มาได้ 2 เดือนแล้ว พอมีเวลาว่างก็ได้ลองเล่นดู พบว่าสนุกและทำงานได้ง่ายกว่า Cloud ที่เป็น PaaS ของค่ายอื่นๆ มาก PHP Cloud คงไม่ต้องบอกว่าให้บริการ Platform ใด หลักๆ ก็เป็น PHP บน Zend Server มีเครื่องมือครบ ได้แก่ Zend Platform, Zend Optomizer, Zend Gard, MySQL, PHPMyAdmin เป็นต้น ในส่วนการเชื่อมต่อกับนักพัฒนามีได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Zend Studio, Eclipse, Git และ SFTP ในส่วน Platform ยังมี App เพื่อรองรับการพัฒนาแบบสำเร็จรูปยังมี Zend Framework, Drupal, Joomla, WordPress, Magento, PHPBB ให้ด้วย สำหรับนักพัฒนาที่พัฒนา Mobule หรือใช้ App เหล่านี้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่อยอด
ในขณะที่เขียนบทความนี้ PHP Cloud ยังอยู่ในช่วงของ Technology Preview ซึ่งผู้ที่จะได้ใช้งานต้องได้รับการ Invite จาก Zend สำหรับท่านที่สนใจก็สามารถไปกรอกข้อมูลเอาไว้ก่อนได้เช่นกัน ลงทะเบียนได้ที่ http://www.phpcloud.com จากนั้นก็รอจดหมายตอบรับจาก Zend เมื่อได้จดหมายตอบรับแล้วจะมี Link ที่มี Invitation Key ให้ เมื่อคลิกแล้วก็จะกระโดดมาที่หน้า Login ของ Zend
กรอก Username และ Password ที่ได้ลงทะเบียนไว้ ก็จะเข้าสู่หน้าจอแนะนำ PHP Cloud การใช้งานและการเชื่อมต่อกับเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ
PHP Cloud จะให้เราสร้าง Application Container สำหรับรองรับ App ต่างๆ ที่เราจะพัฒนา ใน Container จะมี Zend Server และ Git มาให้ มาสร้าง Container กันก่อน
เมื่อสร้างเสร็จจะพบว่ามี App Default มาให้ 1 ตัว เอาไว้ทดสอบพร้อม Public URL ผมสร้าง Application Container ชื่อ redlinesoft ก็จะมี Public URL เป็น http://redlinesoft.my.phpcloud.com
หากเพิ่ม App ลงไปก็จะเป็นชื่อ App URL ต่อท้าย เช่น WordPress ก็จะเป็น http://redlinesoft.my.phpcloud.com/wordpress เป็นต้น สำหรับวิธีการเอาไฟล์ขึ้นลงก็ใช้ผ่าน Zend Studio หรือไม่ก็ใช้ Git สำหรับ IDE ตัวอื่นๆ อย่าง Eclipse ก็ใช้ผ่าน Git Plugin สำหรับการทำงานผ่าน Git ก็ง่ายๆ ครับ ตรงปุ่ม Git Access จะมี Git URL ให้เอา Git URL มาใช้
ตัวอย่างเช่น ผมมี App ชื่อ I am Petdo – Jquery Feed อยู่ ก็ใช้ Git Clone เพื่อดึงโค้ดลงมา
git clone https://redlinesoft@redlinesoft.my.phpcloud.com/git/iampetdo.git iampetdo-jqfeed
โดยไดเรคทอรีที่ได้จะเป็น iampetdo-jqfeed มีไดเรคทอรี public อยู่ข้างใน หากต้องการเพิ่มไฟล์ใหม่ก็สั่ง
git add ชื่อไฟล์ที่ต้องการเพิ่ม
และ git commit เพื่อกำหนดว่า commit อะไร เขียน log ในการ commit แต่ละครั้งด้วย เช่น
git commit -m "fix feed via jqfeed plugin"
จากนั้นก็เอาไฟล์ขึ้น โดยสั่ง git push
git push
เป็นอันจบขั้นตอนการเอาไฟล์ขึ้นไปที่ Container สำหรับการทดสอบก็เข้าผ่าน Public URL ของ App แต่ละตัว สำหรับการเพิ่ม App เข้าไปยัง Container ก็กด Link add/remove more apps จะเข้าสู่หน้า App Catalog ดังนี้
อยากได้ตัวไหนก็กดเลยครับ ยกตัวอย่างเป็น WordPress นะครับ เมื่อกดปุ่ม Deploy Application ก็จะเข้าไปยังหน้าตั้งค่าดังนี้
ใส่ข้อมูลให้เรียบร้อยคุณก็จะได้ App WordPress มาอยู่ที่หน้า App Container ดังนี้
จากนั้นก็ทดสอบผ่านทาง Public URL ได้เลย
ในหน้า App Container คุณยังสามารถทำ Snapshot ของ Container ได้สามารถนำเอา Snapshot ไป Deploy ยัง Container ใหม่ได้เล่นกัน เหมาะกับการทำ HA ได้ง่ายๆ สำหรับการย้าย App จาก Container ไปยัง AWS EC2 และ Cloud Provider อื่นๆ ทาง Zend ยังไม่ได้มีการเปิดให้ทดสอบ ถ้าได้มีโอกาสได้ทดสอบก้อจะเอามาเล่าให้ฟังกันอีกรอบครับ สำหรับช่วง Technology Preview นี้ยังไม่มีค่าใช้จ่าย สร้าง App Container ได้เรื่อยๆ หลังจากนี้อาจได้แค่ 1 Container และซื้อเพิ่ม คงต้องรอข่าวจาก Zend กันอีกรอบครับ สำหรับท่านที่ได้ Invite แล้วก็อยากให้ลองเล่นลองทดสอบดูครับ อย่างน้อยก็ได้สัมผัส Zend Cloud ในรูปแบบ PaaS ซึ่งหาใช้กันไม่ได้ง่ายๆ
อบรม Cloud กับ SIPA
SIPA กับ Cloud เนี่ยผลุบๆ โผล่ๆ มานานละ ไม่ค่อยอยากย้อนอดีตแต่ก็เวลามีคนพูดถึง Cloud ที่ SIPA แล้วรู้สึกอึดอัด ประมาณว่า “พวกเมิงมีโอกาสครั้งนึงแล้ว แต่ทำไมไม่ทำ ?” จริงๆ ครับ โครงการที่เกี่ยวกับ Cloud ที่ SIPA มามานานแล้ว ประมาณเกือบๆ 2 ปีเห็นจะได้ แต่ไม่ค่อยได้รับความสนใจ เพราะไม่มีใครเข้าใจ จนเอาเข้าจริง 2 ปีให้หลังดันมาสนใจ เห็นเขาว่า Cloud ก็ Cloud กับเขาด้วย แต่ก็แค่ งูๆ ปลาๆ เพราะไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ เมื่อวานพี่ที่ TD1 ส่งสัญญาณเรื่องการอบรม Cloud ซึ่งฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีฝากถามมา โดยให้ผมหาคอร์สอบรมให้ ผมก็เลยจัดคอร์สชุดใหญ่ อบรม 4 วัน วันละ 6 ชั่วโมง เอาแบบให้ตายกันไปข้างนึง คอร์สชื่อ Building and Using a Eucalyptus Cloud คอร์สนี้เป็นของ Eucalyptus จริงๆ ซึ่งต้องไปเรียนที่อเมริกาโน่นเลย ผมคิดว่าใครได้ไปเรียนคอร์สนี้ถือว่าคุ้มค่ามากๆ นอกจากจะได้ไปแคลิฟอร์เนียแล้ว ยังได้ไปเรียนกับต้นตำหรับผู้พัฒนา Eucalyptus จริงๆ ด้วย อ้อ ลืมไป ค่าเรียนตกอยู่คนละ 4 หมื่นกว่าๆ ยังไม่รวมค่าเดินทาง ค่าที่พัก ฯลฯ คิดว่า ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี คงมีคำตอบที่ดีๆ ให้เร็วๆ นี้ หวังว่าจะมีโครงการสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจไปเรียน Eucalyptus ที่ต่างประเทศ หรือเชิญวิทยากรบินมาสอนที่นี่ ก็คิดไปเรื่อยเปื่อย บางทีอาจเงียบเหมือนเมื่อ 2 ปีที่แล้วก็เป็นได้ ใครจะไปรู้ อย่างที่ผมเกริ่นไว้ในตอนแรก ถ้า SIPA ยัง งูๆ ปลาๆ ในเรื่อง Cloud อยู่ก็คาดหวังได้อยากครับ 😛
บริการจัดการ Cloud ของคุณด้วย Aeolus

ส่วนประกอบของ Aeolus มีดังนี้
- Aeolus Conductor : เป็นส่วนติดต่อผู้ใช้ที่สามารถจัดการผู้ใช้ ทรัพยากร รวมไปถึง instance (VM) ของผู้ใช้ที่อยู่บน Cloud Provider ต่างๆ
- Aeolus Composer : เป็นตัวสร้าง image จาก template ที่ผู้ใช้กำหนด สามารถเลือกสร้าง Image ได้ตรงกับ Cloud Provider ที่เราต้องการได้
- Aeolus Orchestrator : เป็นส่วนบริหารจัดการ instance ซึ่งผู้ใช้สามารถสร้าง instance อื่นๆ ได้ จาก instance บน Cloud หนึ่งหรือ Cloud หลายๆ ที่ได้
- Aeolus HA Manager : เป็นส่วนที่ทำ HA ให้ instance หรือกลุ่มของ instance
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้มาจาก abstract library ของโครงการ?Deltacloud สำหรับท่านที่ต้องการทดสอบ Aeolus สามารถดาวน์โหลดได้ที่?เว็บไซต์โครงการ Aeolus * ข้อควรระวัง การทดสอบ Aeolus บน Amazon EC2 จะมีค่าใช้จ่าย