ซ่อมเครื่อง DeltaBot

ผมย้ายของจากกรุงเทพฯ มาโคราชมีของหลายอย่างพังไป ของที่อ่อนไหวที่สุดคงเป็น 3D Printer ซึ่งแน่นอนว่าย้ายมาแล้วต้องจูนเครื่องกันใหม่อยู่หลายรอบ ส่วนที่แตกหักก็ต้องซ่อมกัน เครื่อง Delta ที่ย้ายมา effector หักไปส่วนนึง

ก็เลยต้องพิมพ์ใหม่

ครั้งนี้ก็เลยใส่ BL Touch ไปด้วย แต่ซื้อมาจาก shopee ได้ 3D Touch มาซะงั้นไม่ตรงปกและร้านเอาสินค้าออกจากร้านอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องรอรีวิวกันเลยทีเดียว T_T


ยึดกับ effector แบบนี้


จากนั้นก็เปลี่ยนถาดยึด Arduino Mega

พยายามไล่สายกันใหม่

จูนอีกนิดหน่อย ก็ได้ผลลัพท์ที่พอใช้ได้

ประสบการณ์ Adobe Fusion 360

ผมเขียนแบบงาน CAD ไม่เป็นและไม่เคยใช้โปรแกรมพวกนี้เท่าไร พอต้องมาทำเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ก็เลยได้หัดใช้โปรแกรมเหล่านี้บ้าง ตัวแรกที่หัดเป็น Tinker CAD เป็นเว็บไซต์เขียนแบบ 3D และสั่ง export ออกมาเป็นไฟล์สำหรับงาน laser cut ได้ อีกตัวก็จะเป็น 123D ส่วนตัวชอบโปรแกรมนี้มาก แต่พอ Adobe ซื้อ 123D และหยุด support ก็เลยต้องเปลี่ยนโปรแกรมใช้ใหม่ ซึ่งแน่นอนว่า Adobe แนะนำ Adobe Fusion 360 ซึ่งผมได้ License Startup มาทดลอง
พอเปิดโปรแกรมปุ๊มงงเลยครับ ไปไม่ถูกเลย สรุปก็ต้องหา Tutorial ของ Adobe Fusion 360 มาดู

พบว่าตัวนี้ใช้ได้เลย สอนงาน 3D Model พร้อมงาน laser cut ด้วย ดูอันเดียวคุ้มมาก แนะนำเลยครับ

ติด Magnetic Flex bed และ BLTouch

ผมไปซื้อ Magnetic Flex Bed มาเพราะอยากรู้ว่ามันเป็นยังไง ด้วยความใจร้อนและเน้นเรื่องราคาถูกเลยซื้อแบบแผ่นแม่เหล็ก 2 อันประกบกัน แผ่น A และ แผ่น B ซึ่ง Flex bed เป็นที่นิยมมากในจีน เรียกได้ว่าติดมาพร้อมกับ 3D Printer หลายยี่ห้อเลย บางยี่ห้อก็ทำเป็น option เสริมเข้ามา

ด้วยความอยากรู้เลยเอามาลองก็พบว่า แผ่นแม่เหล็ก 2 แผ่นมันหนามาก และที่สำตัญคือ auto level ที่ใช้ Inductive Sensor ใช้งานไม่ได้ ก็เลยทำให้ต้องกลับไปใช้ z-endstop switch แบบเดิม เอาเป็นว่าลาก่อน auto level เศร้าใจ แปะ review นิดนึง

ล่าสุดแก้ปัญหาโดยการไปซื้อ BLTouch มาเพิ่ม เพราะอยากดูว่า BLTouch ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น innovation product จากฝั่งเกาหลีเป็นยังไง ก็เลยได้ลอง BLTouch อีกตัว

สรุปว่าเปลี่ยนมาใช้ BLTouch แล้ว แต่ก็เสียดาย Inductive Sensor อยู่น่ะครับ

ทดสอบ proximity sensor ที่ใช้กับกระจกได้

ไปเจอคนทดสอบ proximity sensor ที่อ่านค่าผ่านกระจกไปที่ heated bed อะลูมิเนียมได้ พบว่าน่าสนใจดี ท่านใดสนใจก็ดูได้จากวิดิโอข้างล่างครับ

เมื่อนานมาแล้ว Thomas Sanladerer เคยรีวิวไว้

สั่งพิมพ์งานผ่าน Wifi ด้วย OctoPrint Plugin ใน Cura กัน

ครั้งที่แล้วทดลองอะไรใหม่ๆ กับ 3D Printer ตัวเก่าไปหลายอย่าง เช่น ทำ sensor ตรวจจับเส้นหมด, ตั้งค่า Linear Advance เป็นต้น คราวนี้ด้วยความขี้เกียจก็เลยเอา Raspberry Pi 2 B+ ตัวเก่าไปติดไว้ที่เครื่องแล้วติดตั้ง OctoPrint คิดว่าจะสั่งพิมพ์และควบคุมเครื่องพิมพ์ผ่าน web browser แต่ Cura รุ่นใหม่มี Plugin ให้ติดตั้งเพื่อได้ ทำให้เราสามารถสั่งพิมพ์งานจาก Cura ไปยัง Octoprint ได้เลย

สำหรับท่านที่ใช้ Cura อยู่แล้ว ติดตั้ง Plugin ชื่อ OctoPrint Connection จากนั้นตั้งค่าเครื่องพิมพ์ได้เลย

ในหน้ารวมเครื่องพิมพ์ ให้เลือกเครื่องที่ต้องการตั้งค่า แล้วกดปุ่ม Connect to OctoPrint ได้เลย โปรแกรมจะให้ตั้งค่าเพิ่มเติมดังนี้

โปรแกรมจะไปค้นหา OctoPrint ในเครือข่ายให้อัตโนมัติ ใส่ค่า API Key เท่านี้ก็สั่งพิมพ์ผ่าน OctoPrint ได้แล้ว

มาลองทำ sensor ตรวจเส้น filament หมดกัน

หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหา print งานอยู่ดีๆ เส้น filament หมด พอ print ไม่เสร็จก้อต้องมาเริ่ม print กันใหม่ มาลองทำ sensor แบบง่ายๆ คอยตรวจเช็คเส้นหมดกันดีกว่า อุปกรณ์ที่ต้องใช้มีแค่ limit switch 1 ตัว กับสายไฟอ่อนต่อกับ COM และ NC เท่านั้น แล้วก็พิมพ์เคสสวยๆ ใส่เข้าไป

ใส่ท่อเทปลอนเข้าไปเท่านี้ก็ได้ sensor แบบง่ายๆ จาก limit switch แล้ว

กลับมา config marlin กัน แก้ไขไฟล์ Configuration.h เปิด feature ตรง #define FILAMENT_RUNOUT_SENSOR เท่านี้ก็ใช้งานได้ อ้อลืมไป สายเสียบที่ SERVO3 ขา G และ Signal ดู port ดีๆ ก่อนเสียบสายนะครับ จากนั้นก็เปลี่ยนเอา filament ผ่านเข้า sensor เท่านี้ก็เรียบร้อย
แปะวิดีโอไว้สักหน่อย

งงๆ อ่านเพิ่มเติมได้ที่เอกสาร Marlin Firmware ครับ

ตั้งค่า Linear Advance บน Marlin 1.1.9

มาตั้งค่า Linear Advance บน Marlin 1.1.9 กันแบบเร็วๆ อันดับแรกแก้ไขไฟล์ Configuration_adv.h ไปเปิด feature Linear Advance ขึ้นมา ตรง #define LIN_ADVANCE จากนั้น upload firmware ให้เรียบร้อย ตอนนี้เราจะสามารถใช้ feature Linear Advance ได้แล้ว จากนั้นต้อง calibrate K Factor ใช้เครื่องมือ K-factor Calibration Pattern เข้ามาช่วย ตั้งค่าตามเครื่อง printer ของเรา สั่ง generate gcode ออกมา แล้วสั่ง print ดู

เราจะได้เส้นคล้ายๆ ภาพข้างบน ให้เลือกเส้นที่คมและยาวคงที่ไม่ขาด แล้วดูค่า K ด้านข้าง หากไม่แน่ใจสามารถปรับความละเอียดของ step ได้อีกหาค่า K ที่เหมาะสม จากนั้นก็ตั้งค่าในโปรแกรม slicer ต่างๆ ได้เลย

ทำเครื่อง 3D Printer CoreXY อีกละ

ตั้งใจว่าจะรื้อเครื่อง Fusebox ตัวเก่าเอาไปทำเครื่องใหม่ ก็เลยทำเครื่องใหม่มาก่อน ครั้งนี้ทำเครื่อง CoreXY เหมือนเดิมแต่ เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นสไตล์เครื่อง Hypercube มีแก้ไขแบบอยู่หลายจุด ครั้งนี้ทำเครื่อง 3D Printer ใหม่ใช้เวลาน้อยกว่าเดิม ได้ประสบการณ์การทำเครื่อง CoreXY มาก่อนก็เริ่มง่ายละ ส่วนที่ชอบงานออกแบบของเครื่อง Hypercube คือถอดหัวเปลี่ยนได้ง่าย อันนี้ต้องไปทำ connector ให้ยกหัวออกได้ทั้งหัวเพิ่ม อีกอย่างไม่ต้องกลับสายพาน อันนี้ชอบมากๆ
เพิ่มความสูงของเครื่อง

เปลี่ยน XY Join ใหม่ ใส่สายพานแบบไม่ต้องกลับ

Continue reading

ใส่ Auto Level แบบคลิปแม่เหล็กให้เครื่อง Delta

หลังจากเปลี่ยน effector กับ fan shroud ใหม่ ก็อยากมี auto level บ้างแต่แบบ fan shroud ต้องแก้ใหม่ ใช้เวลานานในการ tune เครื่องใหม่มากไปหน่อย ก็เลยเลือกวิธีโบราณ คือใช้คลิปแม่เหล็กติดแทน ตัวคลิปแม่เหล็กจะทำหน้าที่ดูดแท่งที่ติด micro switch เอาไว้ ในกรณีที่สั่ง auto level เมื่อทำ auto level เสร็จให้ดึงแท่ง switch ออกแล้วสั่งพิมพ์ได้เลย


สำหรับ firmware ใช้ Marlin 1.1.0 RC8 รุ่นนี้มี feature สำหรับตั้งค่า auto level type ทำให้ตั้งค่าง่ายมากขึ้นไปอีก ในส่วน custom gcode ส่วน start เพิ่ม G29 เพื่อสั่ง auto level สั่ง M300 เล่นเสียงปี๊บออก buzzer เพื่อเตือนเอาคลิปออก และสั่ง G4 S10 เพื่อ delay 10 วินาทีก่อนพิมพ์ เอาเป็นว่าใช้แก้ขัดไปก่อน ในอนาคตจะเปลี่ยนจาก pulley มาเป็น linear guide และทำ effector ใหม่ครับ

เปลี่ยนหัว E3D V6 ให้เครื่อง Delta

รื้อเครื่อง Prusa i3 มาทำเครื่อง Delta เอาหัว E3D V5 มาใส่คิดว่าหัวมันใหญ่ไปหน่อยและพัดลมเป่าชิ้นงานแรงไม่พอ ก็เลยเปลี่ยนเป็นหัว E3D V6 ให้เล็กลงมาหน่อย พิมพ์ Fan Shroud ใหม่ด้วยใส่พัดลม 2 ตัวสะใจเลยทีเดียว