โอเพนซอร์สไปทำไม เพื่อใคร เพราะอะไร?

มีคำถามหลายๆ อย่างที่ผมยกมาเป็นปัญหาแล้วหาคำตอบหรือหาเหตุผลมายืนยัน คำตอบและเหตุผลที่มีน้ำหนักไม่เอนเอียงไปในทางใดทางหนึ่ง สังคมโอเพนซอร์สไม่ได้มีเพียงกลุ่ม Geek ที่ชอบแกะเกา หรือคิดอะไรพิศดารแล้วสร้างหรือพัฒนาให้มันเป็นนวตกรรมใหม่ ในมุมมองของสังคมผู้ใช้ ก็มองในมุมมองที่แตกต่างกัน ผู้ใช้ไม่มีความคิดพิสดารอย่าง Geek แต่กลับนำเอาสิ่งที่ เหล่า Geek คิดค้นมาประยุกต์ใช้ และสร้างแรงกระตุ้นในกลุ่ม Geek ให้พัฒนาสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แล้วกลุ่ม Geek จะเปิดโค้ดทำไม? ทั้งๆ ที่สิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นคิด และพัฒนาขึ้นเป็นสิทธิของเขาและเป็นผลงานของเขาเอง ? แล้วโอเพนซอร์สเพื่อใคร ? ในบทความนี้เราจะมาหาคำตอบร่วมกัน หากท่านอ่านแล้วมีข้อโต้แย้ง หรือคำแนะนำ เขียนแสดงความคิดเห็นได้ในตอนท้ายของบความนี้นะครับ
ย้อนไปเรื่อง โอเพนซอร์ทำไม เพื่อใคร ? การเปิดโค้ดให้ผู้ใช้ (End User) ? อืมมม คงไม่ใช่เรื่องปกติ ที่ผู้ใช้จะเอาไปพัฒนาต่อเองได้แน่นอน ผมคิดอย่างนั้น หากเปิดโค้ดให้นักพัฒนาอิสระล่ะ อืมมม มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการร่วมมือกันพัฒนา (Contribute) มีอีกประเด็นหนึ่งคือเปิดโค้ดเพื่อการตลาดและประชาสัมพันธ์ ประเด็นนี้เดี๋ยวมาว่ากันทีหลัง คุณคิดว่า กลุ่ม Geek ที่พัฒนาซอฟต์แวร์แล้วเปิดโค้ดให้คนอื่นเข้ามาแก้ไข พัฒนา เอาไปใช้งาน เอาไปต่อยอด ฯลฯ เขาทำไปทำไม ? มีใครให้เหตุผลได้บ้าง ผมมีคำตอบและเหตุผลหลายๆ อย่างมาเล่าสู่กันฟัง
1. เพื่อมนุษยชาติบนใบโลกนี้
2. หาคนร่วมพัฒนามีหลายหัวดีกว่ามีอยู่ไม่กี่หัว
3. สร้างสาวกให้สาวกใช้จนติดงอมแงมเลิกใช้ไม่ได้
4. อยากจารึกชื่อไว้บ้าง
5. อยากรวย
ถ้า คุณมีความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์ แล้วคิดว่าเปิดโค้ดให้กับชุมชนหรือผู้ใช้ทั่วโลกได้หยิบจับเอาไปใช้กัน คุณคิดว่าคุณเปิดโค้ดเพราะเหตุผลอะไร ? Continue reading

โอเพนซอร์สและการจัดการความรู้

ผมคลุกอยู่กับโอเพนซอร์สมาเกือบ 10 ปีเห็นจะได้ ทั้งเป็นคนพัฒนาแอพลิเคชั่นให้คนอื่น contribute ต่อและ contribute ซอฟต์แวร์คนอื่น ทำให้เห็นอะไรหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นและเกิดทุกๆ ครั้งที่พัฒนาหรือใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส นั่นคือ ใช้อย่างไร พัฒนาอย่างไร ฯลฯ หากหาคำตอบไม่ได้ ก้อโพสไว้ในเว็บบอร์ดมีคนมาตอบบ้างไม่มีคนมาตอบบ้างเรียกกว่ารอกันจนมี ผู้รู้มาตอบบ้างก้อมี บางกระทู้ก้อไม่มีใครมาตอบเลยก้อมี
กระดาน สนทนาเป็นที่แลกเปลี่ยนความรู้ของชุมชนโอเพนซอร์สมายาวนานมาก รองจาก IRC แต่การตั้งคำถาม เพื่อต้องการได้รับคำตอบ ก้อไม่ใช่เรื่องง่าย ผมเคยอ่าน Cathedral & The Bazaar มีอยู่ตอนหนึ่งที่ Eric Redmond เขียนถึงวิธีการตั้งคำถามอย่างไรให้มีคนมาตอบ และตอบได้ตรงประเด็น ซึ่งผมมองว่าคนส่วนใหญ่มักจะตั้งคำถามด้วยความไม่รู้ และ อยากได้คำตอบมากกว่าการโพสคำถาม และคำตอบที่แก้ปัญหานั้นๆ ได้กลับจมลึกอยู่ก้นกระดานสนทนาหากอยากรู้ต้องไปงมหากันเอาเอง ทำให้วิธีการการแลกเปลี่ยนความรู้ของชุมชนโอเพนซอร์สนั้นทำได้ยากมากขึ้น
ความ รู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น (Tacit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งคือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำรา ส่วนความรู้แฝงเร้นคือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ไม่ได้ถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบางครั้งก็ไม่สามารถถอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ความรู้ที่สำคัญส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้แฝงเร้น อยู่ในคนทำงาน และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกัน ซึ่งความรู้แบบความรู้แฝงเร้นนี้เป็นองค์ความรู้ที่พบเห็นมากที่สุดและสำคัญ มากที่สุดในชุมชนโอเพนซอร์ส ซึ่งยากต่อการเขียนบรรยายออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ทำได้เพียงแค่โพสคำถามและรอคำตอบเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีในการบริหารจัดการความรู้และการบันทึกองค์ความรู้นั้นๆ Continue reading